ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Stegobium paniceum (Linnaeus)
ชื่อพ้อง (Synonym) Anobium ferrugineum, Ptinus testaceus, Ptinus upsaliensis, Anobium minutum, Ptinus
rubellum, Ptinus tenuicorne, Anobium tenuestriatum, Anobium ireos, Anobium villosum, Anobium obesum, Anobium nanum, Cis bonariensis, Cis striatopunctatum, Anobium paniceum (EOL, 2016)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) มอดสมุนไพร
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) drugstore beetle, biscuit beetle, bread beetle
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Coleoptera
Family Anobiidae
Genus Stegobium
Species paniceum
พืชอาศัยหลัก (Main host)
หอมแบ่ง : multiplier onions (Allium cepa var. aggregatum)
หอมหัวใหญ่ : onion (Allium cepa)
ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)
ข้าวโอ๊ต : oat (Avena sativa)
คำ, คำฝอย, ดอกคำ, คำยอง : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle (Carthamus tinctorius)
ถั่วลูกไก่ : chickpea (Cicer arietinum)
กาแฟ : coffee (Coffea sp.)
ผักชี : coriander (Coriandrum sativum)
ขมิ้นชัน : turmeric (Curcuma longa)
ฝ้าย : cotton (Gossypium sp.)
ข้าวบาร์เลย์ : barley (Hordeum vulgare)
มันสำปะหลัง : cassava (Manihot esculenta)
หม่อน : mulberry (Morus sp.)
ยาสูบ : tobacco (Nicotiana tabacum)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
พริกไทย : Pepper (Piper nigrum)
มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)
โกโก้ : cocoa (Theobroma cacao)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum aestivum)
ถั่วเขียวเมล็ดดำ : black gram (Vigna mungo)
ถั่วเขียว : mung bean (Phaseolus aureus)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ขิง : ginger (Zingiber officinale)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ผล เมล็ด ราก และส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช
มอดสมุนไพรมีเขตแพร่กระจายอยู่ทั่วไป มักพบมากในเขตอบอุ่นและเขตร้อน แต่ในเขตร้อนจะพบน้อยกว่ามอดยาสูบ (Cabrera, 2014) ซึ่งเป็นแมลงที่มีลักษณะคล้ายมอดสมุนไพรมาก แมลงสามารถเข้าทำลายธัญพืช ตัวอย่างสัตว์และพืชแห้ง สมุนไพร
มอดสมุนไพรสามารถเจริญเติบโตได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 15-34 °C และความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 35% แต่สภาพที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตคือที่อุณหภูมิ 30 °C ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60-90% (Cabrera, 2014)
แมลงศัตรูธรรมชาติประเภทตัวเบียน ได้แก่ แตนเบียน Lariophagus distinguendus, Theocolax elegans และ Anisopteromalus calandrae ประเภทตัวห้ำ ได้แก่ Tenebroides mauritanicus และ Thaneroclerus buqueti (พรทิพย์ และคณะ, 2548)
-การรักษาความสะอาดโรงเก็บ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะทำการเก็บรักษาเมล็ดพืชหรือผลิตผลเกษตร ต้องทำความสะอาดพื้นและส่วนต่าง ๆ ของโรงเก็บ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และควรดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาของการเก็บรักษา
-ในพิพิธภัณฑ์บริเวณที่เก็บรักษาสัตว์และพืชแห้ง ควรมีการรักษาความสะอาด ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันแมลงเข้าทำลายตัวอย่าง
-การใช้กับดักแสงไฟ ซึ่งมอดสมุนไพรตอบสนองได้ดีต่อแสงยูวี (UV light)
-กรณีมีการระบาดของมอดสมุนไพรมาก การรมด้วยสารเคมีเมื่อมีความจำเป็น
[1] Cabrera, B.J. 2014. Featured Creatures: Drugstore beetle. (Online). Available:
http://entnemdept.ufl.edu/creatures/urban/stored/drugstore_beetle.htm (August 15, 2016).
[2] Encyclopedia of Life (EOL). 2016. Bread beetle: Stegobium paniceum. URL http://eol.org/pages/129970/names/synonyms (July 15, 2016).
[3] Plantwise. 2016. Plantwise Knowledge Bank: Drugstore beetle (Stegobium paniceum). URL http://www.plantwise.org/KnowledgeBank/Datasheet.aspx?dsid=51520 (August 1, 2016).
[4] พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสุมา นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช
กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวินี หนูชนะภัย.
2548. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.
สาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable