Thrips tabaci Lindeman

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Thrips tabaci Lindeman
ชื่อพ้อง (Synonym)  Heliothrips tabaci, Limothrips allii, Thrips alliiThrips bremnerii, Thrips dianthi, Thrips hololeucus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  เพลี้ยไฟหอม, เพลี้ยไฟมันฝรั่ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  onion thrips, cotton seedling thrips, potato thrips, tobacco thrips

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Thysanoptera
           Family  Thripidae
              Genus  Thrips
                Species  tabaci

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

  • การทำลายบนต้นหอม/กระเทียม พบอาศัยอยู่ตามซอกกาบใบหอม/กระเทียม ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ กาบใบ ทำให้ใบซีดเหลือง แห้ง
  • การทำลายบนหน่อไม้ฝรั่ง พบดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบเหลือง ร่วง ในช่วงที่มีใบอ่อนน้อย เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายหน่ออ่อน ทำให้หน่อบิดเบี้ยว เจริญเติบดตผิดปกติ
  • เพลี้ยไฟหอมเป็นพาหะนำโรคไวรัสมาสู่พืชได้ เช่น
    • Tomato spotted wilt virus (TSWV) - serogroup I
    • Groundnut ringspot virus (GRSV) - serogroup II
    • Tomato chlorotic spot virus (TCSV) - serogroup II
    • Impatiens necrotic spot virus (INSV) - serogroup III
    • Groundnut bud necrosis virus (GBNV) - serogroup IV
    • Watermelon silver mottle virus (WSMV) - serogroup IV
       

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

หอมแดง, หอมไทย : Shallot (Allium ascalonicum)
หอมหัวใหญ่ : onion (Allium cepa)
กระเทียม : garlic (Allium sativum)
หน่อไม้ฝรั่ง : asparagus (Asparagus officinalis)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พืชตระกูลแตง : Cucurbitaceae (Cucurbitaceae)
พืชตระกูลถั่ว : Fabaceae (Fabaceae)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ดอก, หัว (หลังเก็บเกี่ยว), ต้นกล้า, ยอดอ่อน, ใบ และลำต้น

การแพร่กระจาย (Distribution)

เพลี้ยไฟหอม พบมีเขตแพร่กระจายกว้างขวางมาก คาดว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขต Eastern Mediterranean และในประเทศรอบทะเลดำ และทะเลแคสเปียน

  • ในประเทศไทย พบทุกแหล่งที่มีการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง หอม กระเทียม
  • ในต่างประเทศมีรายงานพบในประเทศต่าง ๆ ในทวีป Asia, Afica, North America, Central America and Caribbean, South America, Europe  และ Oceania
   

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

สภาพอากาศอบอุ่น แห้งแล้ง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีพืชอาหารที่ชอบ เช่น หอม  ไม่ค่อยพบในเขต humid tropics และเขต subtropic

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

พบในต่างประเทศ

  • ตัวห้ำ (predator) ได้แก่
    • แมลงตัวห้ำ Aeolothrips fasciatus, Aeolothrips intermedius, Anthocoris nemorum, Chrysopa sp., Chrysopa orestes, Chrysoperla carnea, Coccinella septempunctata, Coccinella undecimpunctata, Deraeocoris pallens, Deraeocoris serenus, Hippodamia variegata, Hyperaspis reppensis quadrimaculata, Laius externenotatus, Nabis pseudoferus, Nabis rugosus, Orius albidipennis, Orius insidiosus, Orius laevigatus, Orius minutus, Orius niger, Orius sauteri, Orius vicinus, Paederus alfierii, Scymnus bivulnerus, Scymnus quadriguttatus, Scymnus roepkei, Sphaerophoria rueppellii
    • ไรตัวห้ำ Amblyseius addoensis, Amblyseius barkeri, Amblyseius degenerans, Amblyseius mckenziei, Amblyseius sessor, Amblyseius swirskii, Neoseiulus cucumeris
  • ตัวเบียน (parasite) ได้แก่
    • แตนเบียน Aphanogmus fumipennis, Ceranisus americensis, Ceranisus menes, Ceranisus russelli, Goetheana shakespearei, Ceranisus vinctus
  • เชื้อโรค (pathogen) ได้แก่
    • เชื้อรา Aspergillus ochraceus, Beauveria bassiana, Cephalosporium, , Entomophthora thripidum, Erynia radicans, Metarhizium anisopliae, Neozygites , Neozygites parvispora, Paecilomyces fumosoroseus

วิธีการควบคุม (Control measure)

-วิธีเขตกรรม (Cultural Control) โดยทำความสะอาดแปลงปลูก กำจัดวัชพืชที่อาจเป็นพืชอาศัยหรือแหล่งหลบซ่อน หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเพลี้ยไฟหอมในบริเวณแปลงปลูก หากเกิดการระบาดต่อเนื่องเป็นประจำให้ใช้วิธีปลูกพืชหมุนเวียน
-ใช้พันธุ์ต้านทาน (Host-Plant Resistance)
-ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง (Trapping) ติดตั้งกับดักอัตรา 80 กับดักต่อไร่ ในแปลงหน่อไม้ฝรั่งสูง 1 เมตรเหนือต้นพืช จะช่วยในการทำนายการระบาด และลดจำนวนเพลี้ยไฟได้ 4. พ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟหอม ตามอัตราที่แนะนำ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กลุ่มงานแมลงศัตรูผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ. 2542. แมลงศัตรูผัก INSECT PESTS OF VEGETABLES. เอกสารวิชาการ กองก๊ฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 97 หน้า.
[3] กลุ่มบริหารศัตรูพืช/กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2554. แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก. เอกสารวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 74 หน้า.
[4] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[5] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์ไร กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication