ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Heteropsylla cubana D.L. Crawford
ชื่อพ้อง (Synonym) Heteropsylla incisa (Sulc)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) เพลี้ยไก่ฟ้ากระถิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) leucaena psyllid
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Hemiptera
Family Psyllidae
Genus Heteropsylla
Species Heteropsylla cubana
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดและใบอ่อนของกระถิน การระบาดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเกิดสภาวะแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ในสภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น หากการทำลายเกิดขึ้นในระยะที่กระถินกำลังแตกยอดใหม่ กระถินจะไม่สามารถเจริญเติบโต ยอดจะหักฟุบแห้งตายเหลือแต่ตอ ถ้าการทำลายเกิดขึ้นในระยะที่ยอดกระถินเจริญยืดยาวบ้างแล้ว กระถินจะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่ใบจะร่วงเกือบหมดจนบางยอดเหลือแต่ก้าน บางยอดมีไข่และตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจนมีสีเหลือง ยอดและใบอ่อนเต็มไปด้วยน้ำหวานที่แมลงถ่ายทิ้งไว้เมื่อมีราดำขึ้นทำให้เหนียวและสกปรก
พืชอาศัยหลัก (Main host)
กระถิน : Horse tamarindLeucaena (Leucaena leucocephala)
กระถินยักษ์ : wild tamarind (Leucaena diversifolia)
จามจุรี : rain tree, East Indian walnut (Samanea saman (Jacq.) Merr.)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
พฤกษ์ : albizia (Albizia lebbeck (Linn.) Benth.)
ไมยราบ : mimosa (sensitive) plants (Mimosa spp.)
ใบ / ยอดอ่อน
Asia: Bangladesh, Brunei Darussalam, Cambodia, China (restricted distribution), India, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Nepal, Philippines, Singapore, Sri Lanka, Taiwan, Thailand, Vietnam
Africa: Burundi, Kenya, Mauritius, Reunion, Tanzania, Uganda, Zimbabwe
North America: Bermuda, Mexico, USA
Central America and Caribbean: Anguilla, Antigua and Barbuda, Bahamas, Barbados, BeritishVirgin Islands, Cuba, Dominican Republic, El Salvador, Grenada, Jamaica, Nicaragua, Panama, Puerto Rico, Saint Lucia, Trinidad and Tobago, United States Virgin Islands
South America: Chile, Colombia, Peru, Suriname
Oceania: Australia, Fiji, French Polynesia, Guam, New Caledonia, Northern Mariana Islands, Papua New Guinea, Samoa, Solomon Islands, Tonga
ประเทศไทย : พบระบาดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, ขอนแก่น, กาญจนบุรี, ลพบุรี, สระบุรี, นครราชสีมา, สระแก้ว, นครปฐม, ราชบุรี, ชุมพร
ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ การระบาดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเกิดสภาวะแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
1. พบในประเทศไทย
พ่นสารฆ่าแมลงให้ทั่วในตอนเย็นเมื่อพบยอดกระถินเป็นสีเหลืองเนื่องจากประชากรของแมลงและไข่สูง สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ carbaryl, carbosulfan และ lambdacyhalothrin ตามอัตราที่แนะนำ พ่นซ้ำตามความจำเป็น
[1] Crop protection compendium 2014 URL http://www.cabi.org/cpc/datasheet/27919
[2] ICAR-National Bureau of Agricultural Insect Resources. URL http://www.nbair.res.in/insectpests/Heteropsylla-cubana.php
[3] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2013617
[4] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[5] กัลยา กรงจักร ศรีฟ้า จือพิมาย และ ประพันธ์ โอสถาพันธุ์. 2542. การควบคุมเพลี้ยไก่ฟ้ากระถิน, Heteropsylla cubana Crawford (Homoptera:Psyllidae) โดยชีววิธีในภาคเหนือของประเทศไทย.แก่นเกษตร ม.ค.-มี.ค. 2542. 27(1) หน้า 30-38.
[6] มาลี ชวนะพงศ์ อรุณี วงษ์กอบรัษฎ์ และโอชา ประจวบเหมาะ. 2531. เพลี้ยไก่ฟ้ากระถิน ในแมลงและสัตว์ศัตรูพืช 2531. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการกองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 6 วันที่ 21-24 มิถุนายน 2531. ตึกกสิกรรม บางเขน กรุงเทพฯ หน้า 417-441.
[7] ชนิดพันธุ์สัตว์ต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ). URL http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species_mam.html
[8] ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. URL http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=43894
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable