ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Riptortus linearis (Fabricius)
ชื่อพ้อง (Synonym) Cimex linearis, Riptortus (Riptortus) linearis, Riptortus atricornis
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) มวนถั่วเหลือง, มวนข้างเหลือง, มวนขาโต
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) Soybean pod bug, Bean bug, Soy pod bug, Broad-head bugs
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Hemiptera
Family Alydidae
Genus Riptortus
Species linearis
มวนถั่วเหลือง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยง ใบ ดอก พบตั้งแต่ถั่วเริ่มออกดอกจนถึงติดฝักอ่อน หากดูดกินน้ำเลี้ยงจากฝัก ทำให้ฝักร่วงหล่น ฝักลีบ คุณภาพและผลผลิตลดลง
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)
ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)
ละหุ่ง : castor bean (Ricinus communis)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ข้าวฟ่างไม้กวาด : Proso millet (Panicum miliaceum )
ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
มันเทศ : sweet potato (Ipomoea batatas)
ใบ ดอก ผล เมล็ด
ในประเทศไทย ระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกถั่วเหลือง เช่น ชัยภูมิ ตาก เชียงใหม่ ชลบุรี แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราช
ในต่างประเทศ พบในประเทศ Iraq Iran Oriental, Australasian regions, Africa, Asia
ฤดูฝน พบการระบาดของมวนมากขึ้นถ้าฝนตกสม่ำเสมอในช่วงต้นฤดูหรือในช่วงติดฝัก
1. ในประเทศไทย พบศัตรูธรรมชาติ ดังนี้
-เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะติดฝัก ถ้าพบกลุ่มไข่หรือตัวอ่อนที่อยู่เป็นกลุ่มให้เก็บทำลาย
-ในระยะที่ฝักถั่วเหลืองยาวเต็มที่ แต่ยังไม่ติดเมล็ด เมื่อพบตัวเต็มวัยของมวลเฉลี่ย 2 – 3 ตัว ต่อแถวถั่วยาว 1 เมตร ควรพ่นสารฆ่ามวนถั่วเหลืองตามคำแนะนำ
-เนื่องจากทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวลจะทำลายอยู่ที่ฝักถั่วเหลืองเป็นส่วนใหญ่ จึงควรพ่นสารฆ่าแมลงเข้าไปในพุ่มถั่วให้ทั่ว
[1] Carl W. Schaefer, Antonio Ricardo Panizzi. 2000. Heteroptera of economic importance: Chapter 10 Broad- headed bugs(Alydidae). CRC Press. 44 pages.
[2] Farangs Gone Wild. 2015. URL http://www.farangsgonewild.com/riptortus-linearis.html
[3] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/4391806
[4] Hiroya higuchi, Hiroaki Nakamori and Nobuo Mizutani. 1999. Egg Parasitois of Bean Bug, Riptortus linearis (Fabricius) (Heteroptera : Alydidae) in Okinawa Island. Japanese Journal of Applied Entomology and Zoology. Vol. 43 (1999) No. 2 P 99-100.
[5] Tara J.S, M. Gupta, P. Shrikhandia, A. Bala, N. Zaffar and S. Sharma. 2014. Record of Some Hemipteran Insect Pests of Mango (Mangifera indica) From Jammu Region of Jammu and Kashmir State. Department of Zoology, University of Jammu, Jammu (Tawi) - 180006, J & K, India. International Journal of Interdisciplinary and Multidisciplinary Studies (IJIMS), 2014, Vol 1, No.8: 19-29.
[6] Naturalis Biodiversity Center. Catalogue of life: 26th May 2016 indexing the world’s known species : Riptortus linearis (Fabricius, 1775). www.catalogueoflife.org.
[7] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.
[8] บุญญา อนุสรณ์รัชดา. เอกสารวิชาการ แมลงศัตรูถั่วเหลืองฝักสดและการป้องกันกำจัด ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร. 72 หน้า.
[9] ศรีสมร พิทักษ์. มวนศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด. จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร: URL http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_7-aug/korkui.html
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable