ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Batocera rufomaculata (De Geer)
ชื่อพ้อง (Synonym) Cerambyx rufomaculata
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ด้วงหนาวยาวเจาะลำต้น, ด้วงบ่าหนามจุดนูนดำ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) long horned beetle, black-raised-spot long horned beetle, bark borer, mango stem-borer, tropical fig borer
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Coleoptera
Family Cerambycidae
Genus Batocera
Species rufomaculata
ด้วงตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่โดยฝังไว้ใต้เปลือกต้นทุเรียน หนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้เกิดยางไหล หนอนอาจควั่นเปลือกจนรอบลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม ใบเหลืองร่วง ยืนต้นตายได้
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ทุเรียน : durian (Durio zibethinus)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
มะม่วง : mango (Mangifera indica)
นุ่น : kapok (Ceiba pentandra)
มะม่วงหิมพานต์ : cashew nut (Anacardium occidentale)
มะกอก : olive (Olea europaea)
สนทะเล : casuarina (Casuarina equisetifolia)
ยาง : rubber (Hevea brasiliensis)
อะโวคาโด : avocadoavocado pearalligator pear (Persea americana)
ขนุน : jackfruit (Artocarpus heterophyllus)
มะเดื่อฝรั่ง : edible fig (Ficus carica)
หม่อน : mulberry (Morus sp.)
กิ่ง ลำต้น
แหล่งปลูกทุเรียนทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่พบทำลายทุเรียนพันธุ์หมอนทอง การระบาดค่อยๆ สะสมความรุนแรง เนื่องจากเป็นแมลงกลางคืน พฤติกรรมต่างๆ เกิดในช่วงกลางคืน เกษตรกรจึงไม่ทราบว่ามีการระบาดของด้วง รายงานการแพร่กระจายในประเทศต่างๆ มีดังนี้
พบในต่างประเทศ ตัวเบียน ได้แก่
-ทำลายแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถุกทำลายรุนแรงทิ้ง
-ใช้ไฟส่องจับตังเต็มวัยในเวลากลางคืน ช่วง 20:00 น. ถึงช่วงเช้ามืด หรือใช้ตาข่ายตาถี่พนรอบต้นทุเรียนหลายๆทบ เพื่อดักจับตัวด้วง
-หมั่นสำรวจรอบลำต้นต้นทุเรียน สังเกตรอยแผลที่ด้วงวางไข่ ถ้าพบขุยและรอยทำลายให้ใช้มีดแกะ ทำลายไข่ทิ้ง และจับตัวหนอนทำลาย
-หากหนอนเจาะเข้าลำต้นไปแล้ว ให้ฉีดสารฆ่าแมลงสำหรับป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเข้าลำต้นทุเรียน แล้วใช้ดินเหรียวอุด
-ในแหล่งระบาดรุนแรง ให้พ่นสารฆ่าแมลงสำหรับป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวตามอัตราแนะนำให้ทั่วบริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[3] กลุ่มบริหารศัตรูพืช. 2554. แมลงศัตรูไม้ผล. เอกสารวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 151 หน้า.
[4] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable