Liriomyza trifolii Burgess in Comstock

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Liriomyza trifolii Burgess in Comstock
ชื่อพ้อง (Synonym)   Agromyza phaseolunata, Liriomyza alliivora, Liriomyza alliovora, Liriomyza phaseolunata, Oscinis trifolii
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  แมลงวันหนอนชอนใบ, แมลงวันมะเขือเทศ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  American serpentine leafminer

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Diptera
           Family  Agromyzidae
              Genus  Liriomyza
                Species  trifolii

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

การทำลายของหนอนที่ฟักออกจากไข่ในระยะแรกรอยชอนจะแคบและค่อยๆ ขยายออกเมื่อหนอนโตขึ้น โดยหนอนชอนไชเป็นทางอยู่ใต้ผิวใบ แผลชอนไชของหนอนที่อยู่ภายในใบพืชมีลักษณะคล้ายขี้กุ้งสีน้ำตาลปนดำ ซึ่งเป็นมูลที่ตัวหนอนขับถ่ายออกมา เกิดเป็นเส้นขาวคดเคี้ยวไปมา หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่นซึ่งจะมีผลต่อผลผลิต

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ถั่วฝักยาว : yardlong bean, asparagus bean (Vigna sinensis var. sesquipedalis)
มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)
พืชตระกูลแอสเตอร์ : Family Asteraceae ()
พืชตระกูลแตง : Cucurbitaceae (Cucurbitaceae)
พืชตระกูลถั่ว : Fabaceae (Fabaceae)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ดาวเรือง : MarigoldAmerican marigold (Tagetes erecta)
เบญจมาศ : Chrysanthemum (Chrysanthemum morifolium)
กุหลาบ : rose (Rosa spp.)
เยอบีร่า : Barberton daisy (Gerbera jamesonii)
คื่นช่าย : celery (Apium graveolens)
แครอท : carrot (Daucus carota)
น้ำเต้า : bottle gourd (Lagenaria siceraria)
บวบเหลี่ยม : angled loofah (Luffa acutangula)
บวบ : Sponge gourd (Luffa aegyptiaca)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ใบ

การแพร่กระจาย (Distribution)

ประเทศไทย พบในแหล่งปลูกถั่วฝักยาวและมะเขือเทศ ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี
ต่างประเทศ มีรายงานพบใน อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์  สวีเดน เดนมาร์ก ยูโกสลาเวีย สเปน โคลัมเบีย แทนซาเนีย อิสราเอล อินเดีย ไต้หวัน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

ช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคม-เมษายน

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

1. ในประเทศไทย

  • ตัวห้ำ ได้แก่ แมลงวันซีโนเซีย (Coenosia exigua)
2. ในต่างประเทศ
  • ตัวห้ำ ได้แก่ empidid และ muscid flies (อิสราเอล)
  • ตัวเบียน ได้แก่ แตนเบียน Asecodes sp. nr. Notandus (Silvestri), Cirrospilus ambiguous Hansson & Laselle,  Hemiptarsenus varicornis (Girault), Neochrysocharis formosa (Westwood), Quadrastichus sp. nr. liriomyzae Hansson & LaSalle, Opius dissitus (Muesebeck)

วิธีการควบคุม (Control measure)

-วิธีกล เผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายและวัชพืชเพื่อลดการแพร่ระบาด
-ใช้สารสกัดสะเดาตามอัตราที่แนะนำ เป็นวิธีการที่สามารถป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบได้ดี
-ใช้สารฆ่าแมลงตามอัตราที่แนะนำ สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ ได้แก่ beta cyfluthrin, fipronil

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Freidberg, A. and M.J.Gijswijt. 1983. A list and preliminary observations on natural enemies of the leafminers Liriomyza trifolii (Burgess) (Diptera: Agromyzidae) in Israel. Israel Journal of Entomology. 17,115-116.
[3] Petcharat, J., L.Zeng, W.Zhang, Z. Xu, and Q.Wu,. 2002. Larval parasitoids of agromyzid leaf miner genus Liriomyza in Southern Thailand : species and their host plants, Songklanakarin J. Sci. Technol., 24(3): 467-472 Vanitha, J and Dhandapani, N. 2004.
[4] กลุ่มบริหารศัตรูพืช. 2554. แมลงศัตรูไม้ผล. เอกสารวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 151 หน้า.
[5] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[6] ทัศนีย์ แจ่มจรรยา. 2537. การระบาดของแมลงชนิดใหม่: หนอนชอนใบ. วารสารแก่นเกษตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเกษตรศาสตร์ ภาควิชากีฏวิทยา. หน้า 118-121
[7] ศุภวัลย์ คงเจริญ อรพรรณ เกินอาษา และ วิวัฒน์ เสือสะอาด. 2549. แตนเบียนของแมลงวันหนอนชอนใบ Liriomyza spp. (Diptera: Agromyzidae) ในถั่วฝักยาวในเขตภาคกลางของประเทศไทย. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาพืช. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 กรุงเทพฯ. 828 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication