ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Chondracris rosea (De Geer)
ชื่อพ้อง (Synonym) Acridium rosea, Cyrtacanthacris rosea, Acrydium roseum, Gryllus flavicornis, Cyrtacanthacris lutescens, Chondracris rosea brunneri
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ตั๊กแตนฝ้าย ตั๊กแตนคอนดราคริส
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) cotton locust
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Orthoptera
Family Acrididae
Genus Chondracris
Species rosea
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะ กัดกินใบทำให้ใบขาดแหว่ง ถ้ามีการทำลายมากจะกัดกินจนกระทั่งเหลือแต่เส้นกลางใบ มีใยสีขาวติดอยู่บริเวณที่ตัวหนอนอาศัยกัดกิน ทำให้มีอาการยอดเหี่ยวหรือแห้งตายทั้งต้น ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ผล,ใบ,ลำต้น
พืชอาศัยหลัก (Main host)
อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ส้ม, ส้มเช้ง, ส้มตรา หมากหวาน : sweet orangenavel orange (Citrus sinensis)
มะพร้าว : coconut (Cocos nucifera)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ผล,ใบ,ลำต้น
พบในแหล่งปลูกอ้อย ข้าวไร่ ข้าวโพด ส้ม มะพร้าว ในจังหวัดแพร่ น่าน
เชื้อรา (Entomophthora grylli Fressenius), แตนเบียน (Scelio sp.)
กำจัดวัชพืชที่เป็นอาหารหรือเป็นที่อาศัยของตั๊กแตน ไถและพรวนดินในบริเวณที่มีตั๊กแตนอาศัยเพื่อตากดินและช่วยทำลายไข่ของตั๊กแตนที่อยู่ในดิน ภายหลังการเก็บเกี่ยวควรเก็บตอซังและซากพืชให้หมดเพื่อมิให้เป็นที่อยู่อาศัยของตั๊กแตน
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.
[3] สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. มปป. โรคข้าวไร่และการป้องกันกำจัด. URL www.ricethailand.go.th/info_riceknowledge.htm
[4] สุธรรม อารีกุล. 2529. แมลงศัตรูข้าวโพดของประเทศไทย. ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 241 หน้า.
[5] โกศล เจริญสม และ วิวัฒน์ เสือสะอาด. 2537. ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย. เอกสารพิเศษฉบับที่ 6. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลาง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 144 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable