ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Idioscopus nitidulus (Walker)
ชื่อพ้อง (Synonym) Chunra niveosparsa, Chunra niveosparsus, Chunrocerus niveosparsus, Idiocerus nitidulus, Idiocerus niveosparsus, Idioscopus niveosparsus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) mango leafhopper
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Hemiptera
Family Cicadellidae
Genus Idioscopus
Species nitidulus
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำความเสียหายให้มะม่วงมากที่สุด คือในระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ผลติดน้อยหรือไม่ติดผลเลย ใบอ่อนทีถูกดูดกินน้ำเลี้ยงใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบตามขอบใบจะมอาการปลายใบแห้ง ถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆคล้ายน้ำหวานติดตามใบช่อดอกและรอบๆทรงพุ่มทำให้ราดำปกคลุม ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ,ช่อดอก,ก้านดอก,ยอดอ่อน
พืชอาศัยหลัก (Main host)
มะม่วง : mango (Mangifera indica)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ใบ,ช่อดอก,ก้านดอก,ยอดอ่อน
พบระบาดอยู่ทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วง พบได้ตลอดทั้งปีและทั่วไปในประเทศไทย
ผีเสื้อตัวเบียน (Epipyrous fuliginosatams), แมลงวันตาโต Pipunculid sp., แตนเบียน Aphelined sp., มวนตาโต Geoeori sp., เชื้อรา Beauveria bassiana, เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae,เชื้อราหนวดปลาหมึก Hirsutella sp.
ในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบานการพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเป็นวิธีที่การกระทำอย่างยิ่งเพราะจะช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นลง
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กรมวิชาการเกษตร. มปป. มะม่วง (Mango). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL http://203.172.198.146/rice/rice.mix2/body-5.html
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable