Citripestis sagittiferella (Moore)

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Citripestis sagittiferella (Moore)
ชื่อพ้อง (Synonym)  Nephopteryx sagittiferella
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หนอนเจาะผลส้ม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  citrus fruit borer

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Lepidoptera
           Family  Pyralidae
              Genus  Citripestris
                Species  sagittiferella

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ระยะตัวหนอนเข้าทำลายระยะติดผล เข้าดักแด้ในดินตัวเต็มวัยวางไข่บนผล เมื่อหนอนฟักออกมาจะเจาะกินภายในผล ผลที่ถูกทำลายจะมีมูลของหนอนที่ถ่ายออกมา บริเวณแผลมียางไหลเยิ้มเป็นทางให้แมลงชนิดอื่นและแบคทีเรียเข้าทำลายทำให้ผลเน่าและร่วงในที่สุด ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ผล

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ส้มโอ : shaddock (Citrus maxima)
ทุเรียน : durian (Durio zibethinus)
ลำไย : longan (Dimocarpus longan)
เงาะ : rambutan (Nephelium lappaceum)
ลิ้นจี่ : litchi (Litchi chinensis)
หม่อน : mulberry (Morus alba)
ทับทิม : pomegranate (Punica granatum)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

มะขาม : tamarind (Tamarindus indica)
เดือย : Pearl barley Adlay Ma Yuen (Coix lacryma-job)
สะตอ : Stink bean (Parkia speciosa Hassk.)
มะม่วง : mango (Mangifera indica)
ทุเรียน : Durian (Durio sp.)
ส้มโอ : pomelo (Citrus grandis)
มะกรูด : Kaffir lime (Citrus hystrix)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ผล

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบในแปลงปลูกส้มโอบางแหล่ง พบระบาดในจังหวัดเชียงราย นครนายก ตราด ปราจีนบุรี และแหล่งปลูกในภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

แบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis), แตนเบียน (Trichogramma sp.)

วิธีการควบคุม (Control measure)

สำรวจที่ผลโดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดกันตั้งแต่ผลยังเล็กจำนวน 5 ผลต่อต้น ถ้าพบการทำลายมากกว่า 10% ให้ทำการป้องกันกำจัด ห่อผลตั้งแต่ผลยังเล็ก เก็บผลที่ถูกทำลายเผาหรือฝัง

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Insect Museum,Department of Agriculture, THAILAND
[2] คณะกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี. 2540. การระบาดของแมลงและสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 94 หน้า.
[3] จักรพงษ์ เจิมศิริ และ จุฑาณัฐ ปานนิ่ม. 2543. คู่มือนักวิชาการภาคสนาม แมลงศัตรูไม้ผล. กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูไม้ผล สมุนไพรและเครื่องเทศ กองกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร. 85 หน้า.
[4] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.
[5] ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา และ บุษบง มนัสมั่นคง. 2552. แมลงศัตรูสำคัญในส้มโอและการป้องกันกำจัด. แผ่นพับ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
[6] สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. มปป. หนอนเจาะผล. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL http//forecast.doae.go.th/web/pummelo/309-animal-pests-of-pummelo/989-fruit-borer.html
[7] โกศล เจริญสม และ วิวัฒน์ เสือสะอาด. 2537. ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย. เอกสารพิเศษฉบับที่ 6. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลาง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 144 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication