ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Sitophilus linearis (Herbst)
ชื่อพ้อง (Synonym) Rhynchophorus linearis, Cordyle striatus, Sitophilus tamarindi, Calandra linearis, Sitophilus linearis striatus (Atlas of Living Australia, 2016)
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ด้วงงวงมะขาม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) Tamarind weevil, tamarind pod borer
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Coleoptera
Family Curculionidae
Genus Sitophilus
Species linearis
พืชอาศัยหลัก (Main host)
มะขาม : tamarind (Tamarindus indica)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ผักชี : coriander (Coriandrum sativum)
ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)
ขมิ้นชัน : turmeric (Curcuma longa)
อินทผลัม, อินทผาลัม : date palm (Phoenix dactylifera)
ทับทิม : pomegranate (Punica granatum)
งา : sesame (Sesamum indicum)
มันเทศ : sweet potato (Ipomoea batatas)
เมล็ด ราก
ด้วงงวงมะขามมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พบแพร่กระจายทั่วไปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เอกวาดอร์ จาไมกา มอนต์เซอร์รัต คิวบา คอสตาริกา บราซิล เปอร์โตริโก กัวเตมาลา โดมินิกา อียิปต์ แอฟริกาใต้ กานา ออสเตรเลีย เมียนมาร์ และไทย (Adebayo et al., 2011; Cotton, 1920; Hagstrum and Subramanyam, 2009)
ด้วงงวงมะขามสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-30 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% โดยมีวงจรชีวิต 25-33 วัน (Ojo and Omoloye, 2015)
แตนเบียน Theocolax elegans
กำจัดผลิตผลที่พบแมลงเข้าทำลาย ป้องกันแหล่งแมลงทำลายในผลผลิตใหม่
การรมมะขามหวานด้วยสารรมฟอสฟีนในอัตรา 2 tablets ต่อมะขามหวาน 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถกำจัดด้วงงวงมะขามได้เป็นอย่างดี โดยไม่ทำให้มะขามหวานเปลี่ยนรสชาติ (กรรณิการ์ และดวงสมร, 2550) นอกจากนี้ การใช้รังสีแกมม่าจากโคบอลท์-60 ที่ความเข้ม 200 Gy สามารถฆ่าตัวเต็มวัยของด้วงงวงมะขามได้ (Arthur and Arthur, 2006)
[1] Adebayo, R.A., J.N. Ayertey and M.A. Cobblah. 2011. Suitability of tamarind and some selected crop seeds for the survival and development of Sitophilus linearis (Herbst) (Coleoptera: Curculionidae). International Journal of Biology 3(2): 83-89
[2] Arthur, V. and P.B. Arthur. 2006. Control of Sitophilus linearis (Herbst) (Coleoptera: Curculionidae) in Tamarindus indica through of gamma radiation of Cobalt-60. (Online). Available: http://agris.fao.org/agris-search/search.do?recordID=ES2006002120 (July 25, 2016).
[3] Atlas of Living Australia. 2016. Tamarind weevil: Sitophilus linearis (Herbst, 1795). (Online). Available: http://bie.ala.org.au/species/urn:lsid:biodiversity.org.au:afd.taxon:5011052b- de64-4458-bc13-8c1a16c4c7e5#names (July 25, 2016).
[4] Cotton, R.T. 1920. Tamarind pod-borer, Sitophilus linearis (Herbst). Journal of Agricultural Research 20(6): 439-446.
[5] Hagstrum, D.W. and B. Subramanyam. 2009. Stored-Product Insect Resource. AACC International, Inc., St. Paul, Minnesota.
[6] Ojo, J.A. and A.A. Omoloye. 2015. Life history of the tamarind weevil, Sitophilus linearis (Herbst) (Coleoptera: Curculionidae), on tamarind seed. Journal of Insects Vol. 2015, Article ID429579, doi:10.1155/2015/429579.
[7] กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และดวงสมร สุทธิสุทธิ์. 2550. การใช้สารรมฟอสฟีนในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะขาม หวานหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable