ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Sitophilus oryzae (Linnaeus)
ชื่อพ้อง (Synonym) Calandra bituberculatus, Calandra frugilegus, Calandra funebris, Calandra granarius, Calandra oryxae var. minor, Calandra oryzae, Calandra sasakii, Calendra oryzae, Curculio oryza, Curculio oryzae, Diocalandra oryzae, Sitophilus oryzae var. minor, Sitophilus sasakii
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ด้วงงวงข้าว, มอดข้าวสาร
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) lesser grain weevil, rice weevil
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Coleoptera
Family Dryophthoridae
Genus Sitophilus
Species oryzae
ทำลายธัญพืชทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ โดยกัดทำลายกินอยู่ภายในเมล็ดเกิดเป็นโพรง หนอนอาศัยทำลายอยู่ในเมล็ดเดียวตลอดการเจริญเติบโต อาจพบด้วงงวงข้าวสองตัวอยู่ในเมล็ดพืชเดียวกัน โดยอาศัยอยู่ตัวละด้าน การระบาดอย่างรุนแรง อาจกัดกินทำลายจนเหลือแต่เปลือกหุ้มเมล็ดเท่านั้น
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum spp.)
ข้าวบาร์เลย์ : barley (Hordeum vulgare)
ข้าวโอ๊ต : oat (Avena sativa)
เดือย : Pearl barley Adlay Ma Yuen (Coix lacryma-job)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
ธัญพืชทุกชนิด และเมล็ดพืชอื่นๆ แต่ไม่ทำลายแป้ง เพราะตัวหนอนไม่สามารถเจริญเติบโตในแป้งได้ : ()
มันสำปะหลังแห้ง (Haines, 1991) และเมล็ดถั่วชนิดอื่น ๆ : ()
เมล็ด
แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ชอบอาศัยในเขตอบอุ่น และเขตร้อน จึงพบระบาดความเสียหายมากในแถบเอเซีย และแอฟริกา แพร่กระจายไปได้ไกลๆ โดยการขนส่ง และระบาดได้ตลอดปีเพราะกินอาหารได้หลายชนิด (พรทิพย์ และคณะ, 2578) สำหรับในประเทศไทย พบแพร่กระจายในทั่วทุกภาค แต่พบมากในทางภาคใต้ แมลงจะแพร่ระบาดหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วประมาณ 5 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป และจะแพร่ระบาดมากประมาณเดือนพฤษภาคม (กุสุมา และคณะ, 2548)
ชอบอากาศร้อนหรืออบอุ่น
1. พบในประเทศไทย
วิธีกล 1. ทำความสะอาดโรงเก็บ อย่าให้มีเมล็ดพืชเก่าตกค้างอยู่ 2. ร่อนแยกแมลงออกจากผลิตผลเกษตร 3. ใช้น้ำมันพืช สมุนไพรจากพืช หรือ inert dust (diatomaceous earth และ silica aerogels) คลุกเมล็ด 3.ใช้วิธีทางอ้อมกับแมลง เป็นการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับแมลง เช่น การเก็บข้าวเปลือกแทนการเก็บข้าวสาร การเก็บการแยกเมล็ดแตกหักออกจากเมล็ดดี สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้ ไม่เก็บรักษาเมล็ดที่ถูกเข้าทำลายปะปนกับเมล็ดใหม่
วิธีทางกายภาพ 1. ลดความชื้นในเมล็ดให้ต่ำกว่า 8% แมลงจะไม่สามารถเข้าทำลายได้ 2. การใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า 3. ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อน หรือใช้ความเย็นจัด เพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตหรือตาย 4. เก็บรักษาเมล็ดพืชในสภาพสุญญากาศหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด 5. รมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6. การใช้ภาชนะบรรจุที่ทนทานต่อการเจาะทำลายของแมลง 7. คลื่นความถี่วิทยุ 27.12 MHz ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส 180 วินาที และ 60 องศาเซลเซียส 150 วินาที สามารถทำให้แมลงตายอย่างสมบูรณ์ (Wangspa et. al., 2015)
วิธีทางชีวภาพ 1. ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ที่เป็นตัวห้ำหรือตัวเบียน นำมาควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร 2. นำเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร วิธีการป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี 1. พ่นสารฆ่าฆ่าแมลงโดยตรง ทั้งภายในและภายนอกโรงเก็บ 2. พ่นสารฆ่าแมลงลงบนกระสอบ 3. การชุบกระสอบหรือถุงผ้าด้วยสารฆ่าแมลง 4. การพ่นสารฆ่าแมลงในที่ว่าง (พ่นหมอกควัน) 5. การคลุกเมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง 6.การใช้สารรม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Haines, C.P. (ed.). 1991. Insects and Arachnids of Tropical Stored Products: Their Biology and Identification (A Training Manual). 2nd ed. National Resources Institute, Chatham Maritime, Kent. 246 p.
[3] CABI. 2016. Datasheet: Sitophilus oryzae (lesser grain borer). URL http://www.cabi.org/isc/datasheet/10887 (July 29, 2016).
[4] Wangspa, W., Y. Chanbang and S. Vearasilp. 2015. Radio frequency heat treatment for controlling rice weevil in rough rice cv. khao dawk mali 105. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences 14(2): 189-197
[5] กุสุมา นวลวัฒน์ พรทิพย์ วิสารทานนท์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช
กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์. 2548. แมลงศัตรูข้าวเปลือกและการป้องกันกำจัด. โรงพิมพ์
โกศล เจริญสม และวิวัฒน์ เสือสะอาด. 2537. ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย. ศูนย์วิจัย
ควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,
กรุงเทพฯ. 144 หน้า.
[6] พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสุมา นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช
กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวินี หนูชนะภัย.
2548. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.
[7] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[8] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
สาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable