Callosobruchus maculatus (Fabricius)

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Callosobruchus maculatus (Fabricius)
ชื่อพ้อง (Synonym)  Bruchus ambiguus, Bruchus maculatus, Bruchus ornatus, Bruchus quadrimaculatus, Bruchus sinuatus, Bruchus trabuti, Bruchus vicinus, Callosobruchus ambiguus, Callosobruchus ornatus, Callosobruchus quadrimaculatus, Callosobruchus sinuatus, allosobruchus vicinus, Mylabris quadrimaculatus, Pachymerus quadrimaculatus, Pseudopachymerus quadrimaculatus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ด้วงถ้่วเขียว, ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  spotted cowpea bruchid, cowpea weevil, pulse beetle, cowpea seed beetle, four-spotted bean weevil, southern cowpea weevil, cowpea weevil, cowpea seed beetle, four-spotted bean weevil, southern cowpea weevil, spotted cowpea bruchid

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Coleoptera
           Family  Bruchidae
              Genus  Callosobruchus
                Species  maculatus

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

- เจาะเข้าทำลายฝักถั่วในระยะที่ถั่วเริ่มโตเต็มที่ (fruitng stage) โดยจะวางไข่มีสีขาวติดอยู่ที่ผิวเมล็ด เมื่อฟักเป็นตัวหนอนแล้วจะเข้าไปกัดกินภายในเมล็ดจนเป็นโพรง จากนั้นเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะออกมาจากเมล็ด - เจาะเมล็ดถั่วหลังเก็บเกี่ยว (post-harvest) ในโรงเก็บ

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)
ถั่วเขียวเมล็ดดำ : black gram (Vigna mungo)
ถั่วพุ่ม : cowpea (Vigna unguiculata)
ถั่วแขก, ถั่วแดงหลวง : common bean, red kidney bean, kidney bean (Phaseolus vulgaris)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พืชตระกูลถั่ว : Fabaceae (Fabaceae)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ภายในเมล็ด

การแพร่กระจาย (Distribution)

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำความเสียหายมากในประเทศแถบร้อน และกึ่งร้อน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของด้วงถั่วเขียว คือ ที่อุณหภูมิประมาณ 32 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 90% (Howe and Currie, 1964)
 

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

พบในประเทศไทย ตัวเบียน  (แตนเบียน: parasite) ได้แก่ Dinamus basalis, Lariophagus distiguendua, Uscana sp., Theocolax elegans, Anisopteromalus calandrae
พบในต่างประเทศ ตัวเบียน (แตนเบียน: parasite) ได้แก่ Anisopteromalus calandrae, Cheyletus eruditus, Dinarmus , Dinarmus basalis, Dinarmus vagabundus, Eupelmus orientalis, Eupelmus vuilleti, Heterospilus prosopidis, Lariophagus distinguendus, Pteromalus cerealellae, Pyemotes tritici, Uscana lariophaga, Uscana mukerjii

วิธีการควบคุม (Control measure)

วิธีกล

  • ทำความสะอาดโรงเก็บ อย่าให้มีเมล็ดพืชเก่าตกค้างอยู่
  • ร่อนแยกแมลงออกจากผลิตผลเกษตร
  • ใช้น้ำมันพืช สมุนไพรจากพืช หรือ  inert dust (diatomaceous earth และ silica aerogels) คลุกเมล็ด
วิธีทางกายภาพ
  • ลดความชื้นในเมล็ดให้ต่ำกว่า 8% แมลงจะไม่สามารถเข้าทำลายได้
  • ใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ควบคุมอุณหภูมิโดยการใช้ความร้อน หรือใช้ความเย็นจัด เพื่อให้แมลงหยุดการเจริญเติบโตหรือตาย
  • เก็บรักษาเมล็ดพืชในสภาพสุญญากาศหรือภาชนะที่ปิดมิดชิด
  • รมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ใช้ภาชนะบรรจุที่ทนทานต่อการเจาะทำลายของแมลง
  • ใช้รังสีแกมม่าที่ความเข้ม 10, 20, 150 และ 1,500 Gy สามารถฆ่าไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียวได้ ตามลำดับ (Dongre et al., 1997)
วิธีทางชีวภาพ
  • ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ที่เป็นตัวห้ำหรือตัวเบียน นำมาควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร
  • นำเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคมาใช้ควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร
วิธีการป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี
  • พ่นสารฆ่าฆ่าแมลงโดยตรง ทั้งภายในและภายนอกโรงเก็บ
  • พ่นสารฆ่าแมลงลงบนกระสอบ
  • ชุบกระสอบหรือถุงผ้าด้วยสารฆ่าแมลง
  • พ่นสารฆ่าแมลงในที่ว่าง (พ่นหมอกควัน)
  • คลุกเมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง
  • ใช้สารรม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตวศัตรูพืช ปี 2553. เอกสารวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 303 หน้า.
[3] สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย. 2554. คู่มือตรวจ แมลง ไร และสัตว์ศัตรูพืชเศรษฐกิจ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สาขา 4, จ.นนทบุรี. 270 หน้า.
[4] สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร. 2551. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 170 หน้า.
[5] พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสุมา นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม และจิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวินี หนูชนะภัย. 2548. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกำจัด. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.
[6] ภราดร ณ พิจิตร. 2554. การให้ความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุเพื่อการควบคุมด้วงถั่วเขียวและผลต่อคุณภาพ ของถั่วเขียวผิวมัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 146 หน้า.
[7] Dongre, T.K., M.R. Harwalkar, S.O. Nene and S.R. Oadwal-Desai. 1997. Radio-sensitivity of different developmental stages of pulse beetle (Callosobruchus maculatus). Journal of Food Science and Technology 34(5): 413-415
[8] Howe, R. W. and J. E. Currie. 1964. Some laboratory observations on the rates of development, mortality and oviposition of several species of Bruchidae breeding in stored pulses. Bulletin of Entomological Research 55(3): 437-477.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication