Opisina arenosella Walker

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Opisina arenosella Walker
ชื่อพ้อง (Synonym)  Nephantis serinopa, Ophisina arenosella, Opisina serinopa
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หนอนหัวดำ, หนอนหัวดำมะพร้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  black-headed caterpillar, coconut black-headed caterpillar. palm leaf caterpillar

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Lepidoptera
           Family  Oecophoridae
              Genus  Opisina
                Species  arenosella

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยตัวหนอนแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่ หากการทำลายรุนแรงจะทำลายก้านทางใบ จั่น และผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำลงทำลายทางใบหลายๆ ทาง พบว่าหนอนหัวดำมะพร้าวจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้วจะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้ม ดักแด้เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าดักแด้เพศเมียเล็กน้อย ผีเสื้อที่ผสมพันธุ์แล้ววางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนย้ายไปกัดกินใบมะพร้าว จึงมักพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายจะมีใบแห้ง และมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ หนอนหัวดำมะพร้าวสามารถแพร่กระจายตัวโดยติดไปกับต้นกล้ามะพร้าว หรือปาล์มประดับ ผลมะพร้าว หรือส่วนใบมะพร้าวซึ่งถูกนำจากแหล่งที่มีการระบาดเข้าไปในพื้นที่ใหม่

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

มะพร้าว : coconut (Cocos nucifera)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

ตาล : Palmyra palm, Toddy palm, Wine palm, Tala palm, Doub palm, Lontar palm, Fan palm, Brab palm (Borassus flabellifer L.)
อินทผลัม, อินทผาลัม : date palm (Phoenix dactylifera)
หมาก, หมากผู้ หมากเมีย : areca palm, betelnut palm (Areca catechu)
ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm (Elaeis guineensis)
ตาลฟ้า : bismarck palm (Bismarckia nobilis)
ปาล์มหางกระรอก : foxtail palm (Wodyetia bifurcata)
หมากเขียว, ปาล์มหมาก, หมากฝรั่ง, หมากพร้าว : macArthur's plam (Ptychosperma acarthurii)
หมากแดง : sealing-wax palm, lipstick palm, Raja palm, Maharajah palm (Cyrtostachys renda)
จั๋ง : lady palm, bamboo palm (Rhapis excelsa)
กล้วย, พืชสกุลกล้วย : banana (Musa sp.)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ใบ ทางใบ จั่น และผลมะพร้าว

การแพร่กระจาย (Distribution)

หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย พบการระบาดครั้งแรกที่ประจวบคีรีขันธ์ หนอนหัวดำมะพร้าวสามารถแพร่กระจายตัวโดยติดไปกับต้นกล้ามะพร้าว หรือปาล์มประดับ ผลมะพร้าว หรือส่วนใบมะพร้าวซึ่งถูกนำจากแหล่งที่มีการระบาดเข้าไปในพื้นที่ใหม่ จากการติดตามการระบาดและการกระจายตัวของหนอนหัวดำมะพร้าวจนถึงเดือนกรกฎาคม 2553 พบว่าหนอนหัวดำลงทำลายมะพร้าว ตาลโตนด และกล้วย  ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พื้นที่อำเภอเมือง อำเภอกุยบุรี  อำเภอทับสะแก  อำเภออ่าวน้อย อำเภอบางสะพาน และ อำเภอบางสะพานน้อย พบลงทำลายมะพร้าว ตาลโตนด และปาล์มประดับ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง พบลงทำลายมะพร้าว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง พบระบาดทำลายมะพร้าว ตาลโตนด และกล้วย จังหวัดปทุมธานี  อำเภอเมือง พบลงทำลายมะพร้าว จังหวัดนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด พบลงทำลาย ตาลโตนด และปาล์มประดับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เทศบาลเมืองเกาะสมุย อำเภอเมือง พบลงทำลายต้นมะพร้าว ตาลโตนด และปาล์มประดับ  จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปักธงชัย พบลงทำลายมะพร้าว และจังหวัดอุทัยธานี อำเภอเมือง พบลงทำลายมะพร้าว ในต่างประเทศ พบหนอนหัวดำมะพร้าวในแถบเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ และอินโดนีเซีย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

พื้นที่ที่ปลูกพืชตระกูลปาล์ม โดยเฉพาะทางเขตภาคใต้

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

1. พบในประเทศไทย

  • ตัวห้ำ ได้แก่ Eocanthecona furcellata  (มวนพิฆาต, มวนโล่ห์: stink bug),  Chelisoches morio (แมลงหางหนีบ: earwigs)
  • ตัวเบียน ได้แก่  แตนเบียน Bracon hebetor, Brachymeria euploea, Trichospilus pupivorus, Brachymeria sp.,  Eurytoma sp., Eupelmid (Eupelmidae), Eulophid (Eulophidae)
2. นำเข้ามาจากต่างประเทศ
  • ตัวเบียน ได้แก่ Goniozus nephantidis (แตนเบียนโกนิโอซัส นีแฟนติดีส)
3. พบในต่างประเทศ
  • ตัวห้ำ ได้แก่ Ankylopteryx octopunctata, Idgia dimelaena, Jauravia pubescens, Micraspis discolor, Parena igrolineata, Propylea fallax
  • ตัวเบียน ได้แก่ Antrocephalus hakonensis, Antrocephalus maculipenni, Antrocephalus mitys, Apanteles taragamae,,Bessa remota, Brachymeria euploeae, Brachymeria excarinata, Brachymeria hime, Brachymeria hime atteviae, Brachymeria lasus, Brachymeria megaspila, Brachymeria , Brachymeria nosatoi, Bracon brevicornis, Bracon hebetor, Elasmus nephantidis, Eriborus trochanteratus, Eurytoma braconidis, Goniozus nephantidis, Goryphus gibbosus, Goryphus nursei, Meteoridea hutsoni, Pyemotes tritici, Stomatoceras sulcatiscutellum, Stomatomyia bezziana, Tetrastichus israeli, Tineobius brachartonae, Trichogramma brasiliense, Trichogramma minutum, Trichospilus diatraeaem, richospilus pupivora, Xanthopimpla nana nana, Xanthopimpla punctata
  • เชื้อโรค ได้แก่ Bacillus thuringiensis thuringiensis

วิธีการควบคุม (Control measure)

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันกำจัด คือการไม่นำแมลงศัตรูพืชเข้าในพื้นที่ หนอนหัวดำมะพร้าวอาจติดไปกับพืชตระกูลปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มประดับต่างๆ ก่อนนำไปปลูกในที่ใหม่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีหนอนหัวดำติดเข้าไป เมื่อพบการระบาด ควรดำเนินการ ดังนี้
-ตัดใบที่มีหนอนหัวดำลงทำลาย นำลงมาเผาหรือฝังทำลาย
-การพ่นด้วยชีวภัณฑ์ บีที ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช อัตรา 80-100 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นละ 3-5 ลิตรให้ทั่วทรงพุ่ม ขึ้นกับขนาดทรงพุ่ม และเครื่องพ่น ให้พ่น 3 ครั้งติดต่อกัน ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน
-ใช้แตนเบียนควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว เช่น แตนเบียนหนอน Goniozus nephantidis และ แตนเบียนหนอน Bracon hebetor
-
การควบคุมด้วยสารเคมีโดยวิธีฉีดเข้าลำต้น เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่พบหนอนหัวดำระบาดรุนแรง ห้ามใช้กับมะพร้าวที่มีลำต้นสูงน้อยกว่า 12 เมตร และไม่ให้ใช้ในมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. แมลงศัตรูมะพร้าว. URL: http://at.doa.go.th/coconut/backhead.html
[3] จดหมายข่าว ผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. หนอนหัวดำ...ศัตรูตัวร้ายของสวนมะพร้าว. URL http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_12-jan/rai.html
[4] น้ำผึ้ง ชมภูเขียว, วิวัฒน์ เสือสะอาด, โสภณ อุไรชื่น, ปวีณา บูชาเทียน และโกศล เจริญสม. 2554. ชีววิทยาของหนอนหัวดำมะพร้าว Opisina arenosella Walker (Lepidoptera: Oecophoridae) และแมลงศัตรูธรรมชาติในประเทศไทย. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. URL http://researchconference.kps.ku.ac.th/article_8/pdf/o_plant04.pdf
[5] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication