ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Sesamia inferens (Walker)
ชื่อพ้อง (Synonym) Leucania inferens, Nonagria inferens, Sesamia albiciliata, Leucania albiciliata, Nonagria albiciliata, Leucania proscripta, Nonagria gracilis, Nonagria innocens, Sesamia tranquilaris
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หนอนกอสีชมพู
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) pink stem borer
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Lepidoptera
Family Noctuidae
Genus Sesamia
Species inferens
หนอนที่ฟักจากไข่จะกัดกินตามยอดเมื่อโตจะเคลื่อนย้ายลงมาที่ลำต้นและหน่อ การทำลายระยะแรกทำให้กาบใบเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ถ้าหนอนกัดเข้าไปอยู่ในลำต้นจะเกิดอาการ“ยอดเหี่ยว”และแห้งตาย หากหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากนั้นรวงข้าวจะมีสีขาว เมล็ดลีบ เรียกว่า “ข้าวหัวหงอก” การทำลายในอ้อยทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ยอดอ่อน,ลำต้น,ใบ
พืชอาศัยหลัก (Main host)
อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum aestivum)
ข้าวโอ้ต : oat (Avena spp.)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
ลำต้น,ใบ
พบในแปลงปลูกอ้อยและข้าวทั่วไป พบมีอยู่ทั่วไปในประเทศ
ด้วงเต่า (Coccinella transversalis Fabricius), แมงมุมตาหกเหลี่ยม (Oxyopes javanus), ด้วงก้นกระดก,แมลงปอบ้าน,แตนเบียน (Temelucha stangi Ashmead)
เผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ไขน้ำท่วมและไถดินเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซัง ปลูกพืชอื่นเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนกอข้าว ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะทำให้ใบข้าวงามหนอนกอชอบวางไข่ ใช้แสงไฟล่อตัวเต็มวัยและทำลาย ไม่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดในนาเพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Douangboupha, B., J. Tasanee, S. Nutcharee and H. Yupa. 2006. Sweet corn insect pests and their control. KKU Res J (GS) 6: Supplement 2006.
[3] Hill, D.S. 1983. Agricultural insect pests of the tropics and their control. Cambridge University Press, New York.
[4] กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. มปป. หนอนกอ. กรมส่งเสริมการเกษตร. URL http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/rice/borers.html
[5] งานวินิจฉัยและกักกันศัตรูพืช. 2536. การวินิจฉัยโรค-แมลงศัตรูพืชและการควบคุม. เอกสารประกอบการฝึกอบรมทางวิชาการ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 10-14 พฤษภาคม 2536.
[6] สถาบันวิจัยพืชไร่. 2544. การป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 104 หน้า.
[7] สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1. 2554. เตือนภัยเกษตร อ้อย. กรมวิชาการเกษตร. URL http://www.oard1.org/warning/sugarcane.htm
[8] สุธรรม อารีกุล. 2529. แมลงศัตรูข้าวโพดของประเทศไทย. ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 241 หน้า.
[9] โกศล เจริญสม. 2525. แมลงอ้อย. ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 108 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable