Oryctes rhinoceros (Linnaeus)

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Oryctes rhinoceros (Linnaeus)
ชื่อพ้อง (Synonym)  Oryctes stentor, Scarabaeus rhinoceros
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ด้วงแรดชนิดเล็ก, ด้วงแรดมะพร้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  Coconut rhinoceros beetle, Asiatic rhinoceros beetle, black beetle, coconut black beetle, coconut palm rhinoceros beetle, date palm beetle, dung beetle, rhinoceros beetle, scarab beetle

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Arthropoda
    Class  Insecta
       Order  Coleoptera
           Family  Scarabaeidae
              Genus  Oryctes
                Species  rhinoceros

ลักษณะการทำลาย (Infestation)

ตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมาก ๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

มะพร้าว : coconut (Cocos nucifera)
ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm (Elaeis guineensis)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พืชตระกูลปาล์ม : palm (Palm)
อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)
ป่านศรนารายณ์, สับปะรดเทศ, สับปะรดเทศ : Agave (Agave sisalana)
สับปะรด : pineapple (Ananas comosus)

ส่วนของพืชที่ใช้เป็นที่อาศัย (Harboring plant part)

ยอดอ่อน, โคนทางใบมะพร้าว

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในประเทศไทย พบทั่วไปในพื้นที่ปลูกมะพร้าวและปาล์มน้ำมันของ
ในต่างประเทศ พบในประเทศในทวีป South-East Asia ประเทศ Papua New Guinea, Bismarck Archipelago (New Britain, New Ireland, Manus Island), Western and American Samoas, Tonga, Fiji, Wallis Island, Micronesia, Mauritius Cocos Islands Guam and Saipan Hawaii Mauritius, Réunion

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Favorable condition)

แพร่กระจายทั่วประเทศและตลอดปี ปริมาณมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งขยายพันธุ์ ฤดูที่ด้วงแรดผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ดังนั้นจะพบความเสียหายอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

1. พบในประเทศไทย

  • เชื้อราเขียว Metarrhizium anisopliae (Metach) Sorokin
  • เชื้อไวรัส Rhabdionvirus oryctes Huger หรือ Baculovirus
2. พบในต่างประเทศ
  • ตัวห้ำ ได้แก่ Alaus spp., Brachinus stenoderus, Catascopus facialis, Hololepta quadridentata, Lanelater bifoveatus, Lanelater fuscipes, Mecodema spinifer, Mecodema spinifer, Mecodema spinifer, Neochryopus savagei, Ochyropus gigas, Oxylobus punctatosulcatus, Pachylister sp., Pachylister chinensis, Pheropsophus spp., Placodes ebenenus Placodes ebenenus, Plaesius javanus, Plaesius javanus, Plaesius javanus Plaesius javanus, Platymeris laevicollis, Santalus parallelus, Scarites dubiosus
  • ตัวเบียน ได้แก่ Athogavia borneoica, Boettcherisca peregrina, Campsomeris azurea, Elis romandi, Hypoaspis dubia, Rhabditis sp., Scolia cyanipennis, Scolia oryctophaga, Scolia patricialis, Scolia procer, Scolia quadripustulata, Scolia ruficornis, Steinernema carpocapsae
  • เชื้อโรค ได้แก่ Bacillus thuringiensis kurstaki, Bacillus thuringiensis thuringiensis, Beauveria bassiana, Metarhizium anisopliae, Oryctes rhinoceros nudivirus, Paecilomyces tenuipes, Paenibacillus popilliae

วิธีการควบคุม (Control measure)

-ควบคุมโดยวิธีเขตกรรม โดยการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย และสะดวกเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่ หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้

  • เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
  • เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร
  • ถ้ามีความจำเป็นต้องกองมูลสัตว์นานเกินกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือนำใส่ในถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่นและนำไปเรียงซ้อนกันไว้
-ควบคุมโดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผล เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดมะพร้าว เพื่อกำจัดเสีย 3.  ควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัยด้วงแรดมะพร้าว และนำมาทำลาย 4.  ควบคุมโดยชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วยทำลายหนอนและตัวเต็มวัยด้วงแรด

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop protection compendium 2014 URL http://www.cabi.org/cpc/datasheet/37974
[2] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/4995642
[3] กรมวิชาการเกษตร. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี. URL http://www.doa.go.th/palm/linkTechnical/insect.html
[4] ทวีศักดิ์ ชโยภาส. 2544. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมันในประเทศไทย. กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูพืชสวนอุตสาหกรรม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 126 หน้า.
[5] แมลงศัตรูมะพร้าว. กรมวิชาการเกษตร. URL http://at.doa.go.th/coconut/beetle.html

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication