ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Nezara viridula (Linnaeus)
ชื่อพ้อง (Synonym) Cimex hemichloris, Cimex smaragdulus, Cimex spirans, Cimex torquatus, Cimex transversus
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) มวนเขียวข้าว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) green stink bug, green shield bug, green vegetable bug, southern green stink bug, tomato and bean bug
Phylum Arthropoda
Class Insecta
Order Hemiptera
Family Pentatomidae
Genus Nezara
Species viridula
ลักษณะการทำลายในข้าว : ตัวอ่อน และตัวแก่เจาะดูดกินแป้งในระยะเป็นน้ำนม โดยการขับน้ำย่อยออกมา เพื่อช่วยย่อยแป้งให้ดูดกินได้ง่ายขึ้น นอกจากจะทำให้เมล็ดในรวงลีบ หรือไม่สมบูรณ์แล้ว ยังทำให้เมล็ดมีรอยเปื้อนหรือรอยตำหนิ ซึ่งเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นปะปนแป้งในเมล็ด คุณภาพเมล็ดจะเสื่อม การทำลายคล้ายกับแมลงสิง โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ทำให้เมล็ดข้าวเป็นแผลจุดดำ เมล็ดข้าวลีบ ไม่ติดผล สร้างความเสียหายโดยตรงต่อผลผลิต ลักษณะการทำลายในถั่วเหลือง : มวนเขียวข้าวเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วเหลืองและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหลายชนิด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ลำต้น ดอก และฝัก เป็นต้น ทำให้ลำต้นเป็นจุดสีดำฝักอ่อนที่ถูกทำลายลีบและร่วงหล่นส่วนฝักแก่ที่ยังไม่ แห้งเมล็ดจะเป็นจุดสีดำ เมล็ดไม่เจริญเติบโตและฝักลีบ การทำลายของมวนไม่เด่นชัดเหมือนกับการทำลายของแมลงปากกัด เกษตรกรจึงไม่สนใจที่จะป้องกันกำจัด ก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรงกับถั่วเหลืองที่อยู่ในระยะเริ่มติดฝัก อ่อนและระยะฝักยาวเต็มที่ แต่ยังไม่ติดเมล็ด เป็นระยะที่อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของมวนมากที่สุด แต่ถ้าปริมาณการระบาดของมวนมาก แม้ถั่วจะอยู่ในระยะเริ่มติดเมล็ดและระยะฝักเต่งแต่ยังมีสีเขียว ก็ยังทำให้ฝักลีบเพิ่มขึ้นและผลผลิตลงลงได้
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ถั่วเหลือง : soyabean (Glycine max)
ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram (Vigna radiata)
ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut (Arachis hypogaea)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ฝ้าย : cotton (Gossypium hirsutum)
มะเขือเทศ : tomato (Lycopersicon esculentum)
พืชตระกูลส้ม : (Citrus spp.)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
งา : sesame (Sesamum indicum)
ละหุ่ง : castor bean (Ricinus communis)
ทานตะวัน : common sunflower (Helianthus annuus)
คำ, คำฝอย, ดอกคำ, คำยอง : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle (Carthamus tinctorius)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum aestivum)
ข้าวฟ่าง : sorghum (Sorghum bicolor)
ถั่วมะแฮะ, ถั่วแระ : pigeon pea (Cajanus cajan)
ถั่วพุ่ม : cowpea (Vigna unguiculata)
ยาสูบ : tobacco (Nicotiana tabacum)
ใบ ลำต้น ดอก ฝัก และสมอ
ในประเทศไทย พบระบาดทั่วประเทศ พบมากในแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ในต่างประเทศ พบรายงานในกลุ่มประเทศ ASIA, AFRICA, NORTH AMERICA, CENTRAL AMERICA AND CARIBBEAN, SOUTH AMERICA, EUROPE, OCEANIA
ในฤดูฝนที่มีความชื้นในอากาศสูง และจะพบระบาดมากในสภาพที่มีฝนตั้งแต่ต้นฤดูและตกสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก หรือถั่วอยู่ในระยะติดฝัก
1. ในประเทศไทย
-เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ถ้าพบกลุ่มไข่หรือตัวอ่อนที่อยู่เป็นกลุ่มให้เก็บทำลาย
-ในระยะที่ฝักถั่วเหลืองยาวเต็มที่แต่ยังไม่ติดเมล็ดเมื่อพบการระบาดของตัวเต็มวัยมวนเขียวข้าวเฉลี่ย 2 ตัวต่อแถวถั่วยาว 1 เมตร ควรพ่นด้วย Triazophos 40% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
-เนื่องจากมวนเขียวข้าวทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายอยู่ที่ฝักถั่วเหลืองเป็นส่วนใหญ่ จึงควรพ่นสารฆ่าแมลงเข้าไปในทรงพุ่มถั่ว
[1] Crop Protection Compendium 2014. URL http://www.cabi.org/cpc/datasheet/36282
[2] Global Biodiversity Information Facility. 2015. URL http://www.gbif.org/species/2078852
[3] พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สวนสัตว์แมลงสยาม แม่ริม เชียงใหม่. 591 หน้า.
[4] สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร : แมลงศัตรูถั่วเหลือง URL www.arda.or.th/kasetinfo/north/plant/soy_insect.html
พิพิธภัณฑ์แมลง กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable