ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Cenchrus brownii L.
ชื่อพ้อง (Synonym) Cenchrus dactylolepis Steud., Cenchrus echinatus var. viridis (Spreng.) Spreng. ex Griseb., Cenchrus viridis Spreng., Cenchrus viridis var. macrocephalus Döll
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าบุ้ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) fine-bristle sandbur
Family Poaceae
Genus Cenchrus
Species brownii
Variety
วัชพืชประเภทใบแคบ อายุฤดูเดียว ขึ้นเป็นกอ สูง 30-50 ซม. ลำต้นสีเขียวปนม่วง-แดง ค่อนข้างมัน ลำต้นด้านนอกนูนกลม ด้านในเป็นร่องตื้นกว้าง มีขอบทั้งสองข้างขึ้นเป็นสัน แตกรากตามข้อ แผ่นใบยาวเป็นแถบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ดอกเป็นช่อดอกรวม ออกที่ปลายยอด ช่อดอกทรงกระบอก แกนกลางช่อดอกเป็นเหลี่ยม เกลี้ยง ช่อดอกย่อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแน่นและมีก้านสั้นๆเกิดเรียงสลับอยู่รอบๆแกนช่อดอก ที่โคนก้านดอกมีขนแข็ง หยาบ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร จำนวนมาก ซึ่งติดอยู่จนกลายเป็นผล ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล-แดง ผลเมื่อแก่สามารถหลุดร่วงออกจากช่อดอกได้ง่าย โดยส่วนปลายช่อจะหลุดออกไปก่อน ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปใน ทั้งที่แจ้งและร่มเงา ที่ไม่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานานๆ เป็นวัชพืชทั้งในพื้นที่การเกษตร และสิ่งแวดล้อม หรือที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก ในประเทศไทยพบทุกภาค (บางแห่งพบขึ้นปะปนกับหญ้าบุ้งอีกชนิด (E. echinatus) ซึ่งมีช่อดอกย่อยอยู่บนแกนกลางไม่แน่นเท่า สามารถเห็นแกนกลางได้ง่ายกว่า และมักมีขนาดต้นเล็กกว่า)
หญ้าบุ้ง หรือหญ้าขี้ครอก มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา –ขนแข็งๆ คมคล้ายหนามจำนวนมากที่ติดอยู่กับผล ทำให้เมล็ดหญ้าบุ้งสามารถติดไปกับสัมภาระ สิ่งของ เสื้อผ้า หรือขนสัตว์ได้ง่าย ทำให้เมล็ดหญ้าบุ้งสามารถแพร่กระจายออกไปจากแหล่งเดิม เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม ก็จะงอกเป็นต้นใหม่เจริญเติบโตต่อไปได้ พบทั่วประเทศ
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก ควบคุมด้วยสารเคมี ในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เช่น รอบอาคาร ที่สาธารณประโยชน์ ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น glyphosate หรือ paraquat พ่นหญ้าบุ้งในระยะที่เป็นต้นอ่อน หากเป็นพื้นที่การเกษตร มีการเพาะปลูก เช่น ในพืชไร่ ในสวนไม้ผล สนามหญ้า ต้องระวังไม่ให้ได้รับสารกำจัดวัชพืช ขณะฉีดพ่น หรือเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกชนิดนั้นๆ (ศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม)
[1] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. World Grass Species. URL: http://www.kew.org/data/grasses-syn.html.
[2] The Plant List. 2010. Version 1. Cenchrus brownie Roem. & Schult. URL: http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-403883
[3] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?9792
[4] สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2555. สารานุกรมพืชในประเทศไทย: หญ้าขี้ครอก. URL:http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Cenchrus0brownii0Roem.010Schult.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable