Ageratum conyzoides (L.) L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Ageratum conyzoides (L.) L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Ageratum album Hort.Berol. ex Hornem., Ageratum arsenei B.L.Rob., Ageratum brachystephanum Regel, Ageratum ciliare L., Ageratum ciliare Lour.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  สาบแร้งสาบกา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  agreratum, tropic

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Asteraceae
    Genus  Ageratum
          Species  conyzoides
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชปีเดียว วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นพืชล้มลุก อายุฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 2580 ซม. ตามลำต้นและใบมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัวเมื่อขยี้ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย พื้นใบสีเขียวและมีขนสั้นๆ ปกคลุม ยาวประมาณ 510 ซม. ก้านใบมีขนปกคลุม ดอกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจกแน่น ออกที่ปลายกิ่งหรือยอดสีขาวม่วง ดอกย่อยแต่ละดอกมีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด ส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ผลเป็นแผ่นคล้ายหนามติดที่ปลาย เมล็ดเมื่อแก่มีสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

สาบแร้งสาบกา มีถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้ ในประเทศไทย พบขึ้นทั่วไปในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งในและนอกพื้นที่การเกษตร ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้งจนถึงที่ชุ่มชื้น สามารถทนร่มเงาได้เล็กน้อย พบเป็นวัชพืชในแปลงพืชผัก พืชไร่ (เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย) ไม้ผล เช่น กาแฟ ชา ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะแปลงพืชผักในเกษตรที่สูงที่เก็บเกี่ยวผักแล้ว หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า มักพบสาบแร้งสาบกาขึ้นหนาแน่น

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบทั่วประเทศ

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Solanum lycopersicum (มะเขือเทศ : tomato)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CAB International. 2012. Invasive Species Compendium. Datasheets > Ageratum conyzoides (billy goat weed). URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=3572&loadmodule=datasheet&page=481&site=144
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Germplasm Resources Information Network (GRIN). 2012. GRIN Taxonomy for Plants. United States Department of Agriculture. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?103793
[4] Noda, K., M. Teerawatsaleul, C. Prakongvongs and L. Chaiwitnukul 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Mass & MedianCo. Ltd., Bangkok Thailand. 142 pp.
[5] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[6] กลุ่มวิจัยวัชพืช. 2555. คำแนะนำการควบคุมวัชพืชและการใช้สารกำจัดวัชพืช ปี 2554. เอกสารวิชาการลำดับที่ 12/2554 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 149 หน้า.
[7] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[8] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[9] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[10] วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล และ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2539. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 264 หน้า.
[11] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication