Chromolaena odorata (L.) R0.M.King & H.R0ob.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Chromolaena odorata (L.) R0.M.King & H.R0ob.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Chromolaena odorata f. odorata, Chrysocoma maculata Vell., Chrysocoma maculata Vell. Conc., Chrysocoma volubilis Vell. Conc., Eupatorium brachiatum Sw. ex Wikstr.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  สาบเสือ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  siamweed, bitterbush, butterfly-weed, christmasbush, devilweed, hagonoy, jack-in-the-bush, paraffin-weed, triffidweed, archangel, christmas bush, chromolaena

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Asteraceae
    Genus  Chromolaena
          Species  odorata
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

 วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุหลายปี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แต่หากอยู่ในร่มเงาไม้ใหญ่ จะสามารถเป็นไม้รอเลื้อย คือต้นจะยืดยาวไปจนถึงยอดไม้ใหญ่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบหยัก ดอกเป็นช่อดอกรวม ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน มีดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อัน อยู่ภายในหลอดดอก เมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย ส่วนปลายมีขนยาวสีขาว ช่วยในการกระจายพันธุ์โดยลม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา ในประเทศไทยพบทั่วไป ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงประมาณ 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยพบขึ้นตามที่รกร้างข้างทาง ในพื้นที่การเกษตร เป็นวัชพืชในสวน พืชไร่ ไหล่ทาง ที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง สามารถขึ้นได้แม้ในที่ร่มเงาบางส่วน เช่น ในสวนไม้ผล สวนปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลาย ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 1,500 ม. ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

การแพร่กระจาย (Distribution)

แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้างพบทั่วประเทศ

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Camellia sinensis (ชา : tea)
    Cocos nucifera (มะพร้าว : coconut)
    Elaeis guineensis (ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm)
    Gossypium hirsutum (ฝ้าย : cotton)
    Hevea brasiliensis (ยาง : rubber)
    Musa textilis (กล้วย, กล้วยดำ : abaca)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Tectona grandis (สัก : Teak)
    Theobroma cacao (โกโก้ : cocoa)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
    Zingiber officinale (ขิง : ginger)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

การตัดฟันด้วยแรงคน หรือฟาดให้ต้นล้มลง โดยไม่ขุดรากออก สาบเสือสามารถสร้างยอดใหม่จำนวนมากจากรากได้ หากถอนต้นอ่อนสามารถทำได้ แต่ต้องจำเป็นต้องทำซ้ำทุก 2-3 เดือน เนื่องจากสาบเสือเจริญเติบโตเร็วมาก การควบคุมโดยการเพาะปลูก เช่น ในฟิลิปปินส์ มีการปลูกกระถิน (Leucaena leucocephala) ถั่วเสี้ยนป่า (Pueraria phaseoloides) ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium mucunoides) ถั่วเซ็นโตซีมา (Centrosema pubescens) หรือถั่วขาว (Vigna unguiculata) เพื่อแข่งขันกับสาบเสือ ในแอฟริกาใต้ ควบคุมสาบเสือในทุ่งหญ้าได้ผล โดยการเผาทุกปี ซึ่งเป็นการทำลายต้นที่โตเต็มที่และป้องกันไม่ให้ต้นอ่อนเจริญขึ้นมา ควบคุมด้วยสารเคมี เป็นวิธีการที่ให้ผลเร็วที่สุด ควรพ่นสารกำจัดวัชพืชขณะที่เป็นต้นอ่อนหลังการตัดฟัน สารกำจัดวัชพืชชนิดที่ใช้ควบคุมการงอกของสาบเสือ หรือประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก เช่น diuron, metribuzin ในมันเทศและมันสำปะหลัง oxyfluoren ในมันสำปะหลัง cyanazine+atrazube หรือ atrazine+terbutryn ในข้าวโพด และ dipropetrin ในถั่วลิสงและฝ้าย หลังจากนั้นอาจใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอก เช่น 2,4-D, glyphosate; asulam; paraquat; triclopyr; imazapyr; metsulfuron; tebuthiuron; atrazine (ซึ่งยับยั้งการงอกได้ด้วยเช่นกัน); picloram และคู่ผสมอื่นๆ เช่น picloram+2,4-D และdicamba+2,4-D สารกำจัดวัชพืชบางชนิดมีผลต่อต้นอ่อนของสาบเสือเท่านั้น เช่น 2,4-D, atrazine และ paraquat สำหรับพืชที่โตแล้วใช้ glyphosate หรือมีสารกำจัดวัชพืชเหล่านี้ผสม เช่น picloram หรือ dicamba หรือ triclopyr และจำเป็นต้องมีการพ่นซ้ำด้วย ในแอฟริกาใต้มีการแนะนำให้ใช้ tebuthiuron ในรูปเม็ด ส่วนตอที่เหลือหลังตัดให้ทาด้วย imazapyr และ triclopyr ในออสเตรเลียใช้ picloram + triclopyr หรือ fluoxypyr ผสมกับสารจับใบ สำหรับ Picloram+triclopyr ใช้เมื่อต้องการผลตกค้างเท่านั้น
การควบคุมโดยชีววิธี
สำหรับพื้นที่ที่ใช้สารกำจัดวัชพืชไม่คุ้มทุน มีการใช้ผีเสื้อกลางคืน Pareuchaetes pseudoinsulata ได้ผลดีในกวม แต่ในไม่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะ มีแมลงกินตัวอ่อน
การจัดการแบบผสมผสาน
ในบางพื้นที่มีการใช้ไฟก่อนที่พืชจะสร้างเมล็ดและฆ่าต้นพืช พร้อมเมล็ดที่อยู่ในดิน ร่วมกับการใช้สารเคมี หรือการจัดกายทางกายภาพ ความพยายามที่จะแสวงหาศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมสาบเสืออย่างมีประสิทธิภาพได้ลดลง การรักษาความตระหนักเกี่ยวกับวัชพืชของประชาชนเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการทุกอย่าง ในออสเตรเลีย มักใช้หลายวิธีการร่วมกัน เช่น สารกำจัดวัชพืช ถอน หรือเผา ขึ้นกับสถานการณ์และพื้นที่

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CABI. 2012. Chromolaena odorata (Siam weed). Invasive Species Compendium. Wallingford, UK: CAB International. URL: www.cabi.org/isc.
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?403697
[6] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[7] องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2555. สาบเสือ. ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. URL:http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20 full%20option/Search_detail.asp?Botanic_ID=1162
[8] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication