ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Echinochloa colona L.Link
ชื่อพ้อง (Synonym) Brachiaria longifolia Gilli, Digitaria cuspidata (Roxb.) Schult., Echinochloa colona var. equitans (Hochst. ex A.Rich.) Cufod., Echinochloa colona var. glauca (Sickenb.) Simpson, Echinochloa colona var. glaucum (Sickenb.) Simps.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้านกสีชมพู
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) junglerice, awnless barnyard grass, barnyard millet, corn-panic grass, Deccan grass, jungle ricegrass, jungle-rice, millet-rice, shama millet, wild millet
Family Poaceae
Genus Echinochloa
Species colona
Variety
วัชพืชปีเดียว วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกเป็นกอ แผ่กว้าง ชูปลายยอดตั้งขึ้น สูงประมาณ 3060 เซนติเมตร โคนกาบใบสีม่วงแดง ผิวใบเรียบ ไม่มีลิ้นใบ ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อแขนง มี 810 แขนง ค่อนข้างแบน และมีขนสากคาย ช่อดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวกันแน่นเป็นแถวบนแกนแขนง ช่อดอกย่อยประกอบด้วย 2 ดอก ดอกล่างเป็นหมัน ดอกย่อยบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบประดับนอกแข็งเป็นมัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ชุ่มชื้นมากและที่แห้ง ทั้งที่โล่งแจ้ง และใต้ร่มเงาพืชอื่น สามารถทนแล้งและทนน้ำท่วมได้ดี พบเป็นวัชพืชในพื้นที่ข้าวนาหว่าน จนถึงพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย รวมไปถึงพืชผัก ไม้ยืนต้น นอกจากนี้ยังพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่า ไหล่ทาง ที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงบางฤดูกาลมากกว่าที่มีน้ำท่วมประจำ เป็นวัชพืชพบทั่วไปในทุกภาคของประทศไทย
หญ้านกสีชมพูมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย แล้วแผ่ระบาดออกไปสู่เขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลกพบทั่วประเทศ (ต.บางกอบัว อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.บางกะสอบ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.บางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ)
Corchorus olitorius (ปอกระเจาฝักยาว : Tossa Jute, Jew's Mallow)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Gossypium (ฝ้าย : cotton)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
Zingiber officinale (ขิง : ginger)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Solanum lycopersicum (มะเขือเทศ : tomato)
-
การควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก หากเป็นพื้นที่ที่มีหญ้านกสีชมพูระบาดรุนแรง ซึ่งจะมีเมล็ดจำนวนมากตกอยู่ในดิน อาจใช้วิธีล่อให้พืชงอกด้วยความชื้น แล้วไถกลบต้นอ่อนลงไปในดิน การควบคุมด้วยสารเคมี มีสารกำจัดวัชพืชหลายชนิดที่สามารถใช้ควบคุมหญ้านกสีชมพูได้ เช่น acetochlor, asulam, asulam + diuron, atrazine + metolachlor, atrazine + simazine, bromacil, butachlor, cyanazine + MSMA, dalapon, diuron, diuron + MSMA, diuron + paraquat, 2,4-D + glyphosate, EPTC, haloxyfop-methyl, clethodim, imazaquin, metribuzin, oryzalin, pendimethalin ซึ่งต้องเลือกใช้สารเคมีให้ถูกกับชนิดพืชปลูก เช่น ในข้าวอาจใช้ butachlor, butralin, cinmethylin, chlomethoxyfen, fenoxaprop, glyphosate, molinate, oxadiazon, oxyfluorfen, paraquat, pendimethalin และ thiobencarb เป็นต้น และต้องเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้องกับระยะเวลาการใช้ เช่น ในนาข้าว ใช้บีสไพริแบก-โซเดียม, ไซฮาโลฟอบ-บิวทิล, ฟีนอกซาพรอป-พี-เอทิล, โพรพานิล หลังวัชพืชงอกแล้ว เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดจำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้
[1] CAB International. 2013. Invasive Species Compendium. Datasheets > Echinochloa colona (junglerice). URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=20368&loadmodule =datasheet&page=481&site=144
[2] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. GrassBase - The Online World Grass Flora. URL:http://www.kew.org/data/grasses-db/www/imp03282.htm.
[3] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[4] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[5] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[6] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[7] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?316659
[8] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[9] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[10] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[11] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[12] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[13] โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2549. พฤกษศาสตร์: ไม้พื้นล่าง: หญ้าปล้องข้าวนก. URL:http://www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/plant_page21.php?plantid=172&page=8
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable