Digitaria ciliaris (Retz.) Koeler 

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Digitaria ciliaris (Retz.) Koeler 
ชื่อพ้อง (Synonym)  Asprella digitata Lam., Digitaria abortiva Reeder, Digitaria adscendens (Kunth) Henrard, Digitaria adscendens var. adscendens, Digitaria adscendens subsp. adscendens
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หญ้าตีนนก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  southern crabgrass, bamboo grass, blanket crabgrass, hairy crabgrass, Henry's crabgrass, large crabgrass, smooth crabgrass, summergrass, tropical finger grass

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Digitaria
          Species  ciliaris
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว สูง 30-60 ซม. ลำต้นเป็นไหลทอดนอนสั้นๆ แตกแขนงตามข้อ กาบใบและแผ่นใบมีขนยาว ลิ้นใบเป็นแผ่นบาง ดอกเป็นช่อดอก ออกที่ปลาย มี 5-8 แขนง ช่อดอกย่อยเรียงสลับบนแกนกลางด้านเดียว ช่อดอกย่อยออกเป็นคู่ มีก้านและไม่มีก้าน รูปไข่ ช่อดอกย่อยประกอบด้วย 2 ดอก ดอกล่างเป็นหมัน ดอกย่อยบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้ 3 เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลเป็นผลแห้ง มีส่วนของใบประดับนอกและใบประดันในทีแข็งติดอยู่ ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

มักพบขึ้นทั้งในที่โล่งแจ้ง หรือมีร่มเงาบ้าง ทั้งที่ชุ่มชื้นน้อยและมาก

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เพาะปลูกทั้งพืชอายุปีเดียวและพืชยืนต้น เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่า สนามหญ้า ไหล่ทาง อีกด้วย เป็นวัชพืชพบทั่วไปในทุกภาคของประทศไทย พบทั่วประเทศ

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Beta vulgaris (ผักกาดแดง : sugar beet)
    Camellia sinensis (ชา : tea)
    Capsicum annuum (พริก, พริกหวาน, พริกชี้ฟ้า : chili, pepper, bell pepper, goat pepper)
    Citrullus lanatus (แตงโม : watermelon)
    Crossandra undulifolia (crossandra)
    Cucumis melo (แตงไทย, เมล่อน : muskmelon)
    Eleusine indica (หญ้าตีนกา : Indian goosegrass)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Gossypium spp. (ฝ้าย : cotton)
    Hordeum vulgare (ข้าวบาร์เลย์ : barley)
    Ipomoea batatas (มันเทศ : sweet potato)
    Lablab purpureus (ถั่วแปบ : hyacinthbean)
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก ควบคุมด้วยสารเคมี ในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เช่น รอบอาคาร ที่สาธารณประโยชน์ ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น glyphosate หรือ paraquat พ่นในระยะที่เป็นต้นอ่อน หากเป็นพื้นที่การเกษตร มีการเพาะปลูก เช่น ในพืชไร่ ในพืชผัก อาจเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดคลุม ก่อนที่วัชพืชจะงอก หรือหากวัชพืชงอกแล้วต้องระวังไม่ให้พืชปลูกได้รับสารกำจัดวัชพืชขณะฉีดพ่น หรือเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกชนิดนั้นๆ (ศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม)

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CAB International. 2013. Invasive Species Compendium. Datasheets > Digitaria ciliaris (southern crabgrass). URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=18912&loadmodule= datasheet&page=481&site=144
[2] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. GrassBase - The Online World Grass Flora. URL:http://www.kew.org/data/grasses-db/www/imp02931.htm.
[3] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[4] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[5] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[6] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[7] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[8] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[9] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[10] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[11] โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2549. พฤกษศาสตร์: ไม้พื้นล่าง: หญ้าปล้องข้าวนก. URL:http://www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/plant_page21.php?plantid=172&page=8

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication