ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Euphorbia heterophylla L.
ชื่อพ้อง (Synonym) Agaloma angustifolia Raf., Cyathophora ciliata Raf., Cyathophora heterophyla (L.) Raf., Cyathophora picta Raf., Euphorbia calyciflora Sessé & Moc.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้ายาง ใบต่างดอก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) chamaesyce hirta, Mexican fireplant, painted spurge, red milkweed, wild pointsettia
Family Euphorbiaceae
Genus Euphorbia
Species geniculata
Variety
วัชพืชปีเดียว วัชพืชใบกว้าง อายุปีเดียว หญ้ายางเป็นพืชต่างประเทศ ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบครั้งแรกที่สถานีทดลองเกษตรกรรมศรีสำโรงในราวปี พ.ศ. 24922493 และแพร่พันธุ์ไปอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืช เจริญงอกงามในที่ดินปนทราย พบตามที่ดอนทั้วไป เป็นพืชใบกว้าง รากแข็งหยั่งดินลึก ต้นสูงประมาณ 30 ซม. ลำต้นกลวงและอ่อนมียางขาว สีม่วงแดง ก้านใบสีม่วงแดงเข่นกันและมีขน ใบเดี่ยวออกตามข้อๆละใบ ขอบใบจักละเอียดแหลม ดอกออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกต้วเมียปนกัน ดอกสีขาวอมเขียว ลูกแก่จะแตกเป็น 3 กลีบๆละ 1 เมล็ด เมล็ดแก่สีดำ ต้นอ่อนคล้ายกับต้นผักบุ้งจีน
เจริญได้ในที่น้ำไม่ท่วมขัง ตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป เจริญงอกงามในที่ดินปนทราย เป็นวัชพืชในพืชผัก และพืชไร่ และพืชสวนทั่วไป
พบตามที่ดอนทั้วไปและที่รกร้าง ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบครั้งแรกที่สถานีทดลองเกษตรกรรมศรีสำโรงในราวปี พ.ศ. 2492-2493 และแพร่พันธุ์ไปอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืช
Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Gossypium spp. (ฝ้าย : cotton)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Vigna unguiculata (ถั่วพุ่ม : cowpea)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
Zingiber officinale (ขิง : ginger)
Allium cepa (หอมหัวใหญ่ : onion)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[5] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable