Amaranthus spinosus (L.)

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Amaranthus spinosus (L.)
ชื่อพ้อง (Synonym)  Amaranthus spinosus var. basiscissus Thell.
Amaranthus spinosus var. circumscissus Thell.
Amaranthus spinosus var. indehiscens Thell.
Amaranthus spinosus f. inermis Lauterb. & K.Schum.
Amaranthus spinosus var. purpurascens Moq.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ผักโขมหนาม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  spiny amaranth

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Amaranthaceae
    Genus  Amaranthus
          Species  Amaranthus spinosus
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งมาก สูง 30-100 ซม. ในที่ดินอุดมสมบูรณ์อาจสูงถึง 2 เมตร ลำต้นกลม มักมีสีแดง มีร่องเล็กตามความยาวของลำต้นผิวเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 1-6 ซม.ยาว 3-12 ซม.  ปลายใบแหลมโคนสอบแคบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1-8 ซม. และมีหนามแหลมยาว 1-2 อันที่โคนก้านใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด หรือเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายกิ่ง ซอกใบ ซอกกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นเหมือนกาบปลายแหลมสีขาวและเขียวขนาดเล็ก ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ด้านบนของช่อดอก และดอกเพศเมียอยู่ด้านล่างของช่อดอก ดอกเพศผู้ กลีบรวม5 กลีบ ขนาดใกล้เคียงกัน รูปหอกหรือรููปสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมีย มีกลีบรวม 5 กลีบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ก้านชูเกสรเพศเมียเป็นหลอดพองออกด้านข้าง ผลแห้งแก่แล้วแตกตามขวาง มี 1 เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร เมื่อแก่มีสีดำ เป็นเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

ในประเทศไทย พบขึ้นทั่วไป ทั้งในและนอกพื้นที่การเกษตร ทั้งที่แห้งและชุ่มชื้น สามารถทนร่มเงาได้เล็กน้อย  

การแพร่กระจาย (Distribution)

Asia: Bangladesh, Bhutan, Cambodia, China, India, Indonesia, Israel, Japan, Korea (DPR), Korea (Republic of), Laos, Malaysia, Maldives, Myanmar, Nepal, Pakistan, Philippines, Singapore, Sri Lanka, Taiwan, Thailand, Vietnam
Africa:  Angola, Benin, Botswana, Burundi, Cameroon, Cote d'lvoire, Egypt, Ethiopia, Gambia, Ghana, Guinea, Guinea-Bissau, Kenya, Liberia, Madagascar, Malawi, Mali, Mauritius, Mozambique, Namibia, Niger, Nigeria, Rodriguez Island, Senegal, South Africa, Swaziland, Tanzania, Togo, Uganda, Zambia, Zimbabwe
North America: Canada, Mexico, USA 
Central America and Caribbean: Antigua and Barbuda, Bahamas, Barbados, Belize, British Virgin Islands, Cayman Islands, Costa Rica, Cuba, Dominica, Dominican Republic, El Salvador, Grenada, Guadeloupe, Haiti, Honduras, Jamaica, Martinique, Montserrat, Netherlands Antilles, Nicaragua, Panama, Puerto Rico, Saint Lucia, Saint Vincent and the Grenadines, Sint Eustatius, Sint Maarten, United States Virgin Islands
South America: Argentina, Bolivia, Brazil, Chile, Colombia, Ecuador, French Guiana, Guyana, Peru,  Suriname,Venezuela 
Europe: Austria, Belgium, Bulgaria, Cyprus, Czech Republic, Denmark, France, Hungary, Italy, Latvia, Macedonia, Moldova, Portugal, Spain, Ukraine
Oceania:  Australia, Fiji, French Polynesia, Guam, Johnston Island, Kiribati, Marshall Islands, Micronesia Federated states of, Nauru, New Caledonia, Northern Mariana Islands, Palau, Papua New Guinea, Samoa, Solomon Islands, Vanuatu

 

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Vigna unguiculata (ถั่วพุ่ม : cowpea)
    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Camellia sinensis (ชา : tea)
    Carica papaya (มะละกอ : papaw)
    Ipomoea batatas (มันเทศ : sweet potato)
    Mangifera indica (มะม่วง : mango)
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
 

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล ถอนต้นอ่อนออกก่อนที่พืชจะออกดอก การใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อไม่ให้วัชพืชงอกขั้นมาได้ นอกจากจะช่วยลดประฃากรผักโขมหนามแล้ว ยังช่วยลดปริมาณเมล็ดวัชพืชในดิน หรือวัชพืชในฤดูถัดไปด้วย ควบคุมด้วยสารเคมี ผักโขมหนาม จัดเป็นวัชพืชประเภทใบกว้าง การเลือกใช้สารเคมีกำจัดผักโขมหนาม จำเป็นต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และการพ่นสารต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย สารเคมีกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมผักโขมหนามได้ มีหลายชนิด เช่น 2,4-D, EPTC, MCPA, MSMA (methylarsonic acid), acifluorfen, atrazine, bensulfuron, butachlor, chlorthal-dimethyl, dimethametryn, diphenamid, diuron, glyphosate, metribuzin, oxadiazon, oxyfluorfen, paraquat, pendimethalin, propanil และ trifluralin อย่างไรก็ตามมีรายงานว่ามีการต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช fenoxaprop, piperophos แลเ thiobencarb. การควบคุมโดยชีววิธี มีรายงานตั้งแต่ปี 1992 ว่ามีการปล่อยด้วง Hypolixus truncatulus สามารถควบคุมผักโขมหนามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจใช้แทนสารกำจัดวัชพืชได้ แต่ในปัจจุบันไม่พบว่ามีการใช้แมลงควบคุมผักโขมหนามแต่อย่างใด

เอกสารอ้างอิง (Reference)

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication