ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Pennisetum polystachyon (L.) Schult.
ชื่อพ้อง (Synonym) Cenchrus retusus Sw., Cenchrus setosus Sw., Gymnotrix geniculata Schult., Gymnotrix polystachya (L.) Sw. ex Trin., Gymnotrix ramosa Hochst.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าขจรจบดอกเล็ก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) mission grass
Family Poaceae
Genus Pennisetum
Species polystachion
Variety
-
หญ้าขจรจบดอกเล็ก มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา ถูกชักนำเข้าประเทศไทยจากอินเดียและพม่าพร้อมกับหญ้าขจรจบดอกใหญ่ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากสามารถทนแล้งได้ดี แต่ละต้นสร้างเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดอยู่ในผลที่เป็นขนฟูหุ้มทำให้สามารถถูกพัดพาไปกับกระแสลมได้ และติดไปกับขนสัตว์หรือสัมภาระได้ เป็นปัจจัยที่ช่วยในการแพร่ระบาดของหญ้าขจรจบ ในประเทศไทยพบทั่วประเทศ
-
หญ้าขจรจบดอกเล็กเป็นวัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว เริ่มงอกหลังจากเมล็ดได้รับความชื้นในช่วงเมษายน-พฤษภาคม เจริญเติบโตสร้างเมล็ด และเริ่มแห้งตายในฤดูแล้ง หรือประมาณเดือนธันวาคม จึงอาจควบคุมวัชพืชชนิดนี้ได้โดยจัดช่วงเวลาในการปลูกพืช ส่วนในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำการตัดก่อนที่พืชจะออกดอก จะช่วยลดการแพร่ระบาดได้ การถอนในระยะต้นอ่อนสามารถควบคุมหญ้าขจรจบได้ดี แต่ทำได้ยากในพื้นที่กว้างใหญ่ขึ้น การตัดด้วยเครื่องจักรก่อนที่จะสร้างดอก การใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมหญ้าขจรจบ ก่อนวัชพืชงอกอาจใช้ atrazine trifluralin, nitralin, bromacil หรือ picloram พ่นบนดิน สามารถป้องกันการงอกของหญ้าขจรจบได้นาน 5 สัปดาห์ หลังหญ้าขจรจบงอกมีความสูง 5-10 เซนติเมตร อาจใช้ diuron, ametryne และ linuron เมื่อวัชพืชมีความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใช้ diuron, prometryne, linuron และ glyphosate อย่างไรก็ตาม การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอก บางครั้งอาจได้ผลลดลงเมื่อวัชพืชอายุมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในของพืชเปลี่ยนไป คือเมื่อพืชมีอายุมากขึ้นเยื่อหุ้มเซลของเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ หนาขึ้น มีแป้งสะสมมาก ท่อลำเลียงมีการพัฒนาน้อย ทำให้สารกำจัดวัชพืชที่พ่นลงไปไม่สัมผัสกับเซล ไม่เกิดการดูดซึมสารเข้าไปในพืช ประสิทธิภาพจึงลดลง ดั้งนั้นจึงควรฉีดสารกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชยังไม่แก่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงพิษต่อพืชปลูก และต้องศึกษาอัตรา ช่วงเวลาและวิธีการใช้ ที่ระบุในฉลากของสารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้
[1] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. GrassBase - The Online World Grass Flora. URL:http://www.kew.org/data/grasses-db/www/imp07790.htm
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[4] Global Invasive Species Database. 2006. Cenchrus polystachios (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=210&fr=1&sts=sss&lang=EN
[5] Mannetje, L.T. 2005. Pennisetum polystachyon (L.) Schult. Grassland Species Profiles. URL:http://www.fao.org/ag/AGP/AGPC/doc/Gbase/data/Pf000300.HTM.
[6] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[7] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[8] Scher, J. and D. Walter. 2010. Pennisetum pedicellatum Trin. Federal Noxious Weed Disseminules of the U.S. : Factsheet. URL:http://itp.lucidcentral.org/id/fnw/key/FNW_ Grasses/Media/Html/fact_sheets/Pennisetum_polystachion.htm
[9] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[10] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[11] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[12] องค์การสวนพฤษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL: http://www.qsbg.org/webboard/webboard_Detail-1.asp?Board_ID=960
[13] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[14] อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2556. พันธุ์ไม้พื้นล่าง: หญ้าขจรจบ. URL:http://www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/plant_page21.php?plantid=148&page=7
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable