ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Imperata cylindrica (L.) Raeusch.
ชื่อพ้อง (Synonym) Imperata allang Jungh., Imperata angolensis Fritsch, Imperata arundinacea Cirillo, Imperata arundinacea var. africana Andersson, Imperata arundinacea var. europaea Andersson
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าคา แฝกคา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) cogongrass, alang-alang, imperata, blady grass, silver spikegrass
Family Poaceae
Genus Imperata
Species cylindrica
Variety
วัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบแคบ อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร แผ่นใบแคบยาว ปลายใบแหลมถึงเรียแหวม ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อยที่บริเวณใกล้ฐานใบ ขอบใบคมคายมือ ลิ้นใบเป็นเยื่อบางๆ กาบใบเรียบมี ขอบมีขนละเอียด และมีขนยาวเป็นกระจุกตรงปลายกาบใบ ช่อดอกเป็นแท่งกลมยาว มีขนฟูสีขาวเงินยวงหรือสีครีม ดอกติดเป็นคู่ ก้านดอกยาวไม่เท่ากัน ดอกรูปร่างคล้ายใบหอก ออกดอกตลอดปี เมล็ดแคบยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและเหง้า
พบทั่วไปตามแปลงปลูกพืชที่รกร้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถางป่าเพื่อทำไร่และทิ้งไป หรือไร่เลื่อนลอย
เมล็ดหญ้าคามีขนาดเล็กมาก และมีขนอ่อนนุ่มที่ปลาย ทำให้สามารถปลิวไปตามลมได้ไกลๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วัชพืชชนิดนี้ระบาดได้ง่ายขึ้น หญ้าคามีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันพบหญ้าคากระจายทั่วไปในเขตร้อนทั่วโลก เป็นวัชพืชร้ายแรงในไม้ผล ชา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน และไร่ที่เปิดใหม่ พบทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในทุกภาคของประเทศไทย
Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
Cocos nucifera (มะพร้าว : coconut)
Elaeis guineensis (ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm)
Hevea brasiliensis (ยาง : rubber)
Agave sisalana (ป่านศรนารายณ์, สับปะรดเทศ, สับปะรดเทศ : Agave)
Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Ipomoea batatas (มันเทศ : sweet potato)
Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Solanum tuberosum (มันฝรั่ง : potato)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น สำหรับหญ้าคาที่งอกจากเมล็ด ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้วัชพืชงอกขึ้นมา ถ้าหากเป็นหญ้าคาที่งอกจากเหง้า ต้องเก็บเหง้าออกให้หมด ควบคุมด้วยสารเคมี เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใช้สำหรับวัชพืชประเภทใบแคบ สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ควบคุมหญ้าคาได้ เช่น dalapon, glyphosate, glufosinate และ imazapyr เป็นต้น ต้องเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกและตรงตามระยะเวลาการใช้ ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดจำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้ เนื่องจากหญ้าคาเป็นวัชพืชอายุหลายปี สามารถขยายพันธุ์ได้ท้งจากเมล็ดและเหง้า เมื่อกำจัดหญ้าคาแล้ว ควรปลูกพืชทันที เพื่อป้องกันไม่ให้หญ้าคากลับมาระบาดใหม่ ในบางพื้นที่มีการปลูกพืขคลุมดินเพื่อลดการระบาดของหญ้าคา ซึ่งนิยมปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น อถั่วเพอราเรีย (Puraria phaseoloides) ถั่วเซ็นโตซีมา (Centrosema pubescence) ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium mucunoides) เป็นต้น
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Harada, J., Y. Paisooksantivatana and S. Zungsontiporn. 1987. Project Manual no.3 Weeds in the Highlands of Northern Thailand: illustrated by color. National Weed Science Research Institute Project. Japan International Cooperation Agency and Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives. Thailand. 126 p.
[4] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[5] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[6] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?14823.
[7] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[8] ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2552. วัชพืช: หญ้าคา. URL: http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/w-variety/354-imperata
[9] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[10] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[11] เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. 2530. วัชพืช: การควบคุมกำจัด. ห.จ.ก. พ่อ-ลูก การพิมพ์, กรุงเทพฯ. หน้า 23-27.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable