ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Boerhavia diffusa L.
ชื่อพ้อง (Synonym) Axia cochinchinensis Lour., Boerhavia adscendens Willd., Boerhavia caespitosa Ridl., Boerhavia ciliatobracteata Heimerl, Boerhavia coccinea var. leiocarpa (Heimerl) Standl.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ผักโขมหินต้นแผ่
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) red spiderling
Family Nyctaginaceae
Genus Boerhavia
Species diffusa
Variety
วัชพืชปีเดียวและวัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นไม้ล้มลุกใบเลี้ยงคู่ อายุมากกว่า 1 ปี ลำต้นกลม เรียบ หรือมีขนอ่อนนุ่มประปราย ทอดเลื้อยไปตามพื้น อาจยาวถึง 2 เมตร แตกแขนงจำนวนมากบริเวณโคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามปลายใบมน โคนใบเว้า ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ขนาดเล็ก ดอกทรงกรวย สีชมพูอมม่วง มี 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 23 อัน ผลรูปทรงคล้ายกระบอก สีเขียว เป็นสัน 5 สัน มีขนสั้นๆ สีใส ตรงปลายเป็นต่อมน้ำเหนียวๆ ทำให้สามารถติดไปกับเสื้อผ้า ขนสัตว์ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่าย ผลเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
พบทั่วทุกภาคตามที่รกร้าง ข้างถนน ดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง
ผักโขมหินเป็นวัชพืชที่ระบาดทั่วไปในเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล การแพร่กระจาย พบในหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยเป็นวัชพืชในแปลงพืชไร่ เช่น ข้าวโพด พืชผัก และสวนยาง
Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
Brassica juncea var. juncea (ผักกาดเขียว : mustard)
Brassica nigra (มัสตาร์ด : black mustard)
Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Pennisetum glaucum (หญ้าไข่มุก : pearl millet)
Phoenix dactylifera (อินทผลัม, อินทผาลัม : date palm)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Vigna unguiculata (ถั่วพุ่ม : cowpea)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Dequan, L. and M.G. Gilbert. 2003. Boerhavia diffusa. FOC 5: 434. URL: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200007007
[3] Noda, K., M. Teerawatsaleul, C. Prakongvongs and L. Chaiwitnukul 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Mass & MedianCo. Ltd., Bangkok Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้. 2555. URL: http://web3.dnp.go.th/botany/dictindex.aspx
[7] สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2552. สารานุกรมพืชในประเทศไทย. URL:http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx? wordsnamesci=Dactyloctenium0aegyptium0(L.)0P.0Beauv.
[8] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable