ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Ischaemum rugosum Salisb.
ชื่อพ้อง (Synonym) Andropogon arnottianus Steud., Andropogon griffithsiae Steud., Andropogon rugosus Steud., Andropogon segetus (Trin.) Steud., Andropogon tong-dong Steud.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าแดง หญ้ากระดูกไก่
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) saramollagrass, muraino grass, wrinkled duck-beak, wrinkled grass
Family Poaceae
Genus Ischaemum
Species rugosum
Variety
วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว ลำต้นแตกแขนงบริเวณโคน แขนงตั้งตรง เป็นกอสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกรากตามข้อบริเวณโคน ใบเดี่ยว แผ่นใบเรียวยาว เป็นรูปหอก ปลายแหลม ลิ้นใบเป็นเยื่อบางรูปสามเหลี่ยมมน กาบใบสีเขียว ปนม่วงแดง ผิวด้านนอกมีขนละเอียด ออกดอกเป็นช่อที่ปลาย แยกเป็น 2 แขนง แต่แนบติดกันจนเหมือนเป็นอันเดียว เมื่อแก่จะแยกออกจากกันเป็น 2 แขนง ช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมากเรียงแน่นบนแกนกลาง ช่อดอกย่อยแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 2 ดอก กลีบรองดอกมีรยางค์ยาว กลีบรองดอกกลีบล่างมีร่องตามขวาง 3-6 ร่อง ผลเป็นผลแห้งมีเมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เป็นวัขพืชสำคัญในนาข้าว มักพบในนาข้าวที่มีน้ำท่วมขัง หรือตามริมคูน้ำทั่วไป ที่ชื้นแฉะ
หญ้าแดงมีแหล่งกำเนิดในเชตร้อนของทวีปเอเชีย แพร่กระจายอย่างกว้างขวางหลายประเทศในเขตร้อนของเอเชีย มีรายงานเป็นวัชพืชร้ายแรงที่สุดในนาข้าวของหลายประเทศในเขตนี้
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
-
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีเมล็ดวัชพืชปนเปื้อน เป็นการป้องกันวัชพืชที่ดีที่สุด ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก ควบคุมด้วยสารเคมี เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใช้สำหรับวัชพืชประเภทใบแคบ สารชนิดที่สามารถใช้ควบคุมหญ้าแดงได้ เช่น bensulfuron, pyrazosulfuron, fenoxaprop, propanil, propanil + molinate, thiobencarb, fenoxaprop-ethy. เป็นต้น ต้องเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกและตรงตามระยะเวลาการใช้ เช่น ก่อนวัชพืชงอกใช้ pretilachlor และ oxadiazon หากวัชพืชงอกแล้วใช้ bispyribac – sodium, flumioxazin, fenoxaprop-ethyl และ propanil, เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดจำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] กรมการข้าว. 2556. องค์ความรู้เรื่องข้าว: วัชพืชในนาข้าว: กกทราย. URL: http://brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=7.htm
[6] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[7] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[8] ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชลบุรี. 2556. องค์ความรู้เรื่องข้าว: วัชพืชในนาข้าว: หญ้าแดง. URL: http://brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=3.htm
[9] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[10] สุชาดา ศรีเพ็ญ และ คุณหญิง. 2545. พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 312 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable