Paspalum distichum L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Paspalum distichum L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Anastrophus paspalodes (Michx.) Nash, Digitaria disticha (L.) Fiori & Paol., Digitaria paspalodes Michx., Dimorphostachys oaxacensis (Steud.) E.Fourn. ex Hemsl., Milium distichum (L.) Muhl.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หญ้าสะกาดน้ำเค็ม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  dallisgrass

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Paspalum
          Species  distichum
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

 วัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบแคบ อายุหลายปี เหง้าแตกไหลได้มาก ทอดนอนตามพื้น ปลายตั้งตรง แตกรากตามข้อ สูง 15 50 เซนติเมตร ..ใบแข็ง รูปแถบ ปลายเรียวแหลม ไม่มีหูใบ ดอกออกเป็นช่อ มักแตกแขนงเป็น 2 (3) แขนง แต่ละแขนงมีช่อดอกย่อยเรียงตัวแน่นเป็นสองแถว ผลเป็นผลแห้ง ร่วงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เหง้าและไหล

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

พบเป็นวัชพืชทั่วไปในนาข้าว คันนา ค้นคลอง ขอบบ่อ แหล่งที่มีความชื้น ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย นาดำ นาหว่านข้าวแห้ง ดินชื้นแฉะหรือน้ำขัง

การแพร่กระจาย (Distribution)

หญ้าสะกาดน้ำเค็ม มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ในประเทศไทยพบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Asparagus officinalis (หน่อไม้ฝรั่ง : asparagus)
    Gossypium spp. (ฝ้าย : cotton)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Vitis vinifera (องุ่น : grape)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

หญ้าสะกาดน้ำเค็มเป็นวัชพืชประเภทใบแคบอายุหลายฤดู การควบคุมโดยวิธีกล หรือใช้แรงงาน ต้องใช้เวลามา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง สารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมหญ้าสะดากน้ำเค็มได้ เช่น Glyphosate, thiobencarb, haloxyfop, quizalofop, pretilachlor, butachlor, fluazifop, sethoxydim, paraquat, fluroxypyr + triclopyr สามารถควบคุมหญ้าสะกาดน้ำเค็มได้ ขึ้นกับชนิดพืชปลูก ในคลองส่งน้ำหรือคลองชลประทานอาจใช้. Metolachlor, oxyfluorfen, prodiamine, และ pendimethalin สำหรับในนาข้าวมีสารกำจัดวัชพืชวัชพืชใหม่ๆ เช่น fenoxaprop, bispyribac-sodium, pyanchor (pyribenzoxim), bensulfuron methyl และ prosulfuron-ethyl อย่างไรก็ตาม การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอก บางครั้งอาจได้ผลลดลงเมื่อวัชพืชอายุมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในของพืชเปลี่ยนไป คือเมื่อพืชมีอายุมากขึ้นเยื่อหุ้มเซลของเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ หนาขึ้น มีแป้งสะสมมาก ท่อลำเลียงมีการพัฒนาน้อย ทำให้สารกำจัดวัชพืชที่พ่นลงไปไม่สัมผัสกับเซล ไม่เกิดการดูดซึมสารเข้าไปในพืช ประสิทธิภาพจึงลดลง ดั้งนั้นจึงควรฉีดสารกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชยังไม่แก่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงพิษต่อพืชปลูก และต้องศึกษาอัตรา ช่วงเวลาและวิธีการใช้ ที่ระบุในฉลากของสารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. GrassBase - The Online World Grass Flora. URL:http://www.kew.org/data/grasses-db/www/imp07509.htm
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?402807
[6] กรมการข้าว. 2556. องค์ความรู้เรื่องข้าว: วัชพืชในนาข้าว: หญ้าชะกาดน้ำเค็ม. URL: http://brrd.in.th/rkb/weed/index.php-file=content.php&id=19.htm
[7] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[8] ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2555. URL: http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/
[9] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[10] สำนักงานหอพรรณไม้. 2553. หญ้าสะกาดน้ำเค็ม Paspalum conjugatum Berg. URL: http://web3.dnp.go.th/ botany/detail.aspx?wordsnamesci=Paspalum0conjugatum0Berg.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication