Amaranthus viridis L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Amaranthus viridis L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Albersia caudata (Jacq.) Boiss., Albersia gracilis (Desf.) Webb & Berthel., Amaranthus acutilobus Uline & W.L.Bray, Amaranthus fasciatus Roxb., Amaranthus gracilis Desf.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ผักโขม, ผักโขมหัด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  slender amaranth

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Amaranthaceae
    Genus  Amaranthus
          Species  viridis
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียว อาจสูงได้ถึง 1 เมตร. ต้นตั้งตรง ค่อนข้างกลมอวบ น้ำ สีเขียวถึงเขียวแกมน้ำตาลแดง มักแตกแขนงใกล้โคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปข้าวหลามตัด โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือค่อนข้างมน ปลายใบมน ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นดอกช่อที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อย แยกเพศ ใบประดับรูปไข่ สีเขียวแกมน้ำตาล แข็งคล้ายหนาม กลีบ 3 กลีบ แยกกัน สีเขียว บาง และแห้ง รูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ จำนวนเท่ากลีบ 3 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็น หลอดบางๆ เกสรเพศเมีย 1 อัน สีเขียว ก้านเกสรสั้นๆ ยอดเกสรแยกเป็น 2-3 แฉก ผลเป็นผลแห้งมีกลีบและใบประดับห่อหุ้ม เมล็ดสีดำ เป็นเงา รูปร่าง กลม-แบน สีดำ ขนาดเล็ก เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร  

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ในแปลงปลูกพืชผัก พืชสวน พืชไร่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่ไม่มีร่มเงา

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบเป็นวัชพืชทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย และวัชพืชในพื้นที่การเกษตร เป็นวัชพืชในเขตร้อนทั่วโลก และกระจายเข้าไปในเขตอบอุ่นบ้างเล็กน้อย เช่น พบในญี่ปุ่น จีน เป็นต้น

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K., M. Teerawatsaleul, C. Prakongvongs and L. Chaiwitnukul 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Mass & MedianCo. Ltd., Bangkok Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. มปป. ผักขม. URL: http://www.saiyathai.com/herb/484000.htm
[7]เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication