Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Achyranthes linearifolia Sw. ex Wikstr., Achyranthes sessilis (L.) Besser, Achyranthes triandra Roxb., Achyranthes villosa Blanco, Allaganthera forsskaolei Mart. Achyranthes linearifolia Sw. ex Wikstr., Achyranthes sessilis (L.) Besser, Achyranthes triandra Roxb., Achyranthes villosa Blanco, Allaganthera forsskaolei Mart.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ผักเป็ดไทย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  sessile joyweed

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Amaranthaceae
    Genus  Alternanthera
          Species  sessilis
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ที่ขึ้นได้ทั้งบนบกที่ชุ่มชื้นและในน้ำ (สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก) อายุหลายปี ลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ปลายยอดชูตั้ง สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในกลวง มีขนอ่อนปกคลุม ลำต้นมีสีเขียวออกม่วงแดง มีข้อปล้องชัดเจน มักมีรากออกตามข้อที่อยู่ใกล้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปไข่กลับ ฐานใบเรียวเล็ก ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนโดยเฉพาะใบอ่อน ก้านใบสั้น หรือเกือบไม่มี ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกกลม ตรงซอกใบ ไม่มีก้านช่อดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนของดอกประกอบด้วย กลีบรวม จำนวน 5 กลีบ รังไข่อยู่ต่ำกว่าส่วนของดอก ผลเป็นผลเดี่ยว ขนาดเล็ก รูปรjางคล้ายรูปไต แห้งแก่แล้วแตกเป็น 2 ซีก แต่ละซีกมีเพียง 1 เมล็ด ขนาดเล็ก เมล็ดสีน้ำตาลดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้น ผักเป็ดไทย เป็นวัชพืชที่พบในเขตร้อนทั่วโลก ภายใต้ร่มเงา หรือดินที่ชุ่มชื้นในพื้นที่เพาะปลูกและที่ว่างเปล่า สามารถเจริญเติบโตได้ในหลายสภาพ มักพบขึ้นในชุ่มชื้น ในประเทศไทยพบตามคันนา แหล่งน้ำข้างทาง หนองน้ำทั่วไป และเป็นวัชพืชในพืชปลูกที่ปลูกในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

พบทั่วไปตามชายคลอง นาข้าวและแหล่งน้ำตื้น

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบทั่วไปตามชายคลอง นาข้าวและแหล่งน้ำตื้นในจังหวัดมหาสารคาม, พะเยา

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Eleusine coracana (ข้าวป้างสามง่าม : finger millet)
    Gossypium sp. (ฝ้าย : cotton)
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Panicum miliaceum (หญ้ากินนี : proso millet)
    Polyphagous (พืชอาศัยหลากหลายชนิด)
    Sorghum bicolor (ข้าวฟ่าง : sorghum)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมผักเป็ดน้ำ โดยการถอนออกไม่สามารถควบคุมวัชพืชอายุหลายฤดู ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น amitrole แล้วพ่นซ้ำด้วย 2,4-D and MCPA ได้ผลปานกลาง มีรายงานว่า ผักกาดน้ำ ผักเป็ดน้ำอ่อนแอต่อ bensulfuron, 2,4-D, MCPA, oxadiazon, propanil และ butachlor

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CAB International. 2012. Invasive Species Compendium. Datasheets > Alternanthera sessilis (sessile joyweed). URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=4404&loadmodule=datasheet&page=481&site=144
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[6] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[7] ประวิทย์ สุรนีรนาถ. มปป. พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL:http://www.ku.ac.th/fish/mfish.html/aqplant/aqpindex.html
[8] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[9] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[10] ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา. 2552. พรรรณไม้น้ำที่พบในกว๊านพะเยา. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL: http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=44&Itemid=85
[11] สุชาดา ศรีเพ็ญ. 2545. พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 312 หน้า.
[12] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication