ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Boerhavia erecta L.
ชื่อพ้อง (Synonym) Boerhavia elongata Salisb., Boerhavia erecta f. subepunctata Heimerl, Boerhavia erecta var. thornberi (M.E.Jones) Standl., Boerhavia erecta subsp. thornberi (M.E. Jones) Standl., Boerhavia paniculata subsp. thornberi (M.E. Jones) Standl.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ผักโขมหินต้นตั้ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) erect spidering
Family Nyctaginaceae
Genus Boerhavia
Species erecta
Variety
วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นไม้ล้มลุกใบเลี้ยงคู่ อายุ 1 ปี ลำต้นตั้งตรง สูง 30-80 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงบริเวณโคนมักมีสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบกลมหรือตัด ขอบใบเป็นคลื่น ออกเป็นคู่ตรงข้าม ก้านใบสีม่วงแดง ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน โคนใบเว้า ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกทรงกรวย ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ เว้าตรงกลาง มีเส้นกลางกลีบสีชมพู เกสรเพศผู้ 1-2 อัน ผลรูปกรวยกลับ ปลายตัด เป้นสันนูนชัดเจน 5 สัน เกลี้ยง สีเขียว ผลเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล-แดงขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สภาพดินที่มีชุ่มชื้น มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง เมื่อเจริญเติบโตแล้ว สามารถทนแล้งได้ดี ไม่มีร่มเงา
ผักโขมหินขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป พบทั่วทุกภาคตามที่รกร้าง ไหล่ทาง ทางรถไฟ ที่ดินมีการระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง เป็นวัชพืชในแปลงพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสวนยางพารา
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[3] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[4] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[5] สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้. 2555. URL: http://web3.dnp.go.th/botany/dictindex.aspx
[6] อำไพ ยงบุญเกิด, สกล สุธีสร และ จเร สดากร. 2527. วัชพืชในสวนยางพารา. เอกสารวิชาการ สววท หมายเลข 3. สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 171 หน้า
[7] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[8] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable