Cenchrus echinatus L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Cenchrus echinatus L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Cenchrus brevisetus E.Fourn. ex Hemsl., Cenchrus brevisetus E. Fourn., Cenchrus brevisetus E. Fourn., Cenchrus echinatus var. brevisetus (E.Fourn.) Scribn., Cenchrus echinatus var. glabratus F.Br.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หญ้าบุ้ง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  southern sandbur

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Cenchrus
          Species  echinatus
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบแคบ เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นบริเวณโคนโค้งงอเล็กน้อย แตกแขนงได้ดี ข้อที่อยู่ใกล้โคนอาจสร้างรากช่วยหาอาหารและพยุงต้น กาบใบยาว ผิวเกลี้ยง แผ่นใบรูปแถบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ทรงกระบอกแคบ.ช่อดอกย่อยเป็นกลุ่ม อยู่บนแกนกลางช่อดอกซึ่งเป็นเหลี่ยม เกลี้ยง แต่ละกลุ่มมีดอกย่อย 2-3 ดอก มีระยะห่างระหว่างกลุ่ม ทำให้เห็นเป็นช่อดอกโปร่ง สามารถเห็นแกนกลางของช่อดอก ช่อดอกย่อยมีวงใบประดับเป็นขนแข็งเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ติดที่กาบประดับ โคนก้านดอกมีขนแข็งยาว 4-5 มิลลิเมตรอยู่จำนวนมาก โคนขนแผ่ติดกันรองรับกลุ่มดอก และติดอยู่กับช่อดอกจนกลายเป็นผล ผลเป็นผลแห้งแก่แล้วไม่แตก รูปรี ยาวประมาณ 2 มม. เมื่อแก่ผลมีสีน้ำตาล-เหลือง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

การแพร่กระจาย (Distribution)

หญ้าบุ้ง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา พบขึ้นกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น (ระหว่างเส้นรุ้งที่ 33 เหนือและ 33 องศาใต้) ของทวีปเอเชีย อาฟริกา อเมริกา และโอเชียเนีย ในประเทศไทย พบทั่วไป ทั้งในและนอกพื้นที่การเกษตรที่น้ำไม่ท่วมขัง ในประเทศไทยพบทุกภาค และบางแห่งพบขึ้นปะปนกับหญ้าบุ้งอีกชนิดซึ่งมีช่อดอกแน่นกว่า สามารถขึ้นได้ทั้งในที่โล่ง จนถึงมีร่มเงาเล็กน้อย ขนแข็งๆ คมคล้ายหนามจำนวนมากที่ติดอยู่กับผล ทำให้เมล็ดหญ้าบุ้งสามารถติดไปกับสัมภาระ สิ่งของ เสื้อผ้า หรือขนสัตว์ได้ง่าย ทำให้เมล็ดหญ้าบุ้งสามารถแพร่กระจายออกไปจากแหล่งเดิม เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม ก็จะงอกเป็นต้นใหม่เจริญเติบโตต่อไปได้

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Gossypium hirsutum (ฝ้าย : cotton)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn,
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Solanum lycopersicum (มะเขือเทศ : tomato) maize)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก ควบคุมด้วยสารเคมี ในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เช่น รอบอาคาร ที่สาธารณประโยชน์ ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น glyphosate หรือ paraquat พ่นหญ้าบุ้งในระยะที่เป็นต้นอ่อน หากเป็นพื้นที่การเกษตร มีการเพาะปลูก เช่น ในพืชไร่ ในสวนไม้ผล สนามหญ้า ต้องระวังไม่ให้ได้รับสารกำจัดวัชพืช ขณะฉีดพ่น (ศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม)

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CAB International. 2012. Invasive Species Compendium. Datasheets: Cenchrus echinatus (southern sandbur) URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=14501&loadmodule= datasheet&page=481&site=144
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] Queensland government. 2011. Weeds of Australia: Biosecurity Queensland Edition. Mossman River Grass: Cenchrus echinatus. URL:http://keyserver.lucidcentral.org/weeds/data/03030800-0b07-490a-8d04-0605030c0f01/media/Html/Cenchrus_echinatus.htm
[6] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?9795
[7] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[8] ปราโมทย ไตรบุญ, อัจฉรา นันทกิจ, จันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์, ไชยยศ สพัฒนกุล, เพ็ญศรี นันทสมสราญ, ศิริพร ซึงสนธพริ และจรัญญา ปิ่นสุภา. 2550. การสำรวจและรวบรวมชนิดวัชพืชในทุเรียน. แบบรายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550. 10 หน้า. URL: http://it.doa.go.th/refs/files/452_2550.pdf
[9] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[10] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[11] สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2552. สารานุกรมพืชในประเทศไทย. URL:http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Cenchrus0echinatus0L
[12] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[13] โครงการความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอาหารสัตว์พื้นเมือง. มปป. หญ้าสอนกระจับ Cenchrus echinatus Linn.วงศ์ Gramineae. URL:http://www.dld.go.th/ncna_nak/cenchrusec.html
[14] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication