ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Commelina diffusa Burm.f.
ชื่อพ้อง (Synonym) Commelina agraria Kunth, Commelina agraria var. prostrata (Kunth) Seub., Commelina agraria var. repens Seub., Commelina aquatica J.K.Morton, Commelina caespitosa Roxb., Commelina canariensis C.Sm.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ผักปลาบนา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) spreading dayflower
Family Commelinaceae
Genus Commelina
Species diffusa
Variety
วัชพืชข้ามปี ประเภทใบกว้าง เป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยบนดินหรือริมชายน้ำ อายุปีเดียว ลำต้นกลม สีเขียว ยาวได้ถึง 40 ซม. มีรากออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1 – 2 ซม. ยาว 4 – 7.5 ซม. โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบด้านบนมีขน ดอก สีขาว น้ำเงิน ม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 2.5 – 3 ซม.มีใบประดับรองรับสีเขียวอ่อนรูปเรือ ดอกย่อยขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน เป็นหมัน 3 อัน รูปร่างต่างกัน ปลายเกสรเพศเมียสีส้ม ก้านชูเรียวเกลี้ยง ยาวประมาณ 0.5 ซม. ผล แก่แล้วแตกตามรอยตะเข็บ รูปไข่ปลายแหลมยาว 0.5 ซม. เมล็ด ค่อนข้างกลมผิวเรียบ
สภาพชื้นและแหล่งน้ำ ในพื้นที่โล่งและมีร่มเงา
ระบาดในคลองและแหล่งรกร้างพบได้ทุกภาค ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม
Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
Avena sativa (ข้าวโอ๊ต : oat)
Carica papaya (มะละกอ : papaw)
Citrus limon (มะนาว : lemon)
Citrus sinensis (ส้ม, ส้มเช้ง, ส้มตรา หมากหวาน : sweet orangenavel orange)
Colocasia esculenta (เผือก : taro)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Hordeum vulgare (ข้าวบาร์เลย์ : barley)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Prunus armeniaca (แอปริคอต : apricot)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Solanum tuberosum (มันฝรั่ง : potato)
Sorghum bicolor (ข้าวฟ่าง : sorghum)
Vitis vinifera (องุ่น : grape)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable