Euphorbia hirta L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Euphorbia hirta L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Chamaesyce gemella (Lag.) Small, Chamaesyce hirta (L.) Millsp., Chamaesyce hirta var. glaberrima (Koidz.) H.Hara, Chamaesyce hirta f. glaberrima (Koidz.) Hurus., Chamaesyce hirta var. laeticincta Croizat
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  น้ำนมราชสีห์
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  garden spurge

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Euphorbiaceae
    Genus  Chamaesyce
          Species  hirta
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบกว้าง ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว อาจสูงได้ถึง 50 ซม. ส่วนต่างๆ มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีสีเขียวอมแดงหรือน้ำตาล มีขนหยาบยาว หูใบรูปสามเหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามในระนาบเดียวกัน รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน เบี้ยว ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนกระจายทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบ 3-5 เส้นในแต่ละข้าง ก้านใบยาว 1-3 มม. สีคล้ายลำต้น ช่อดอกออกตามซอกใบสั้นๆ มี 1-6 ช่อ ดอกย่อยแบบ cyathium เรียงอัดกันแน่นแบบช่อกระจุกซ้อน มี 20-50 ช่อ ใบประดับรูปแถบ แต่ละ cyathium ติดบนวงใบประดับรูปถ้วย สูงประมาณ 0.8 มม. มีต่อม สีชมพู ต่อมมีรยางค์เป็นแผ่นสั้นๆ แคบๆ ขนาด 0.2-0.3 มม. ดอกติดภายใน cyathium ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ดอกเพศผู้อยู่ด้านข้าง มีหลายดอก เกสรเพศผู้ลดรูปเหลือ 1 อัน ก้านเกสรสั้นๆ ติดบนก้านดอก ดอกเพศเมีย 1 ดอก ติดด้านบน รังไข่มี 3 พู มีก้านสั้นๆ ก้านเกสร 3 อัน ยอดเกสรยาวประมาณ 0.3 มม. ปลายแยก 2 แฉกตื้นๆ ผลแบบแคปซูล มี 3 พู. มีขนสั้นนุ่ม แก่แล้วแตกเป็นซีก แต่ละซีก รูปรี เป็นเหลี่ยมเล็กน้อย สีน้ำตาลแดง ผิวเรียบ แต่ละซีกมี 1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

เป็นพืชที่ขึ้นในที่น้ำไม่ท่วมขัง หรือที่ดอน เช่น ตามชายป่า ที่รกร้าง คันนา พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร ตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงระดับความสูง 1200 เมตร

การแพร่กระจาย (Distribution)

พบเป็นวัชพืชในพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง คะน้า กะหล่ำปลี มะม่วง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น น้ำนมราชสีห์มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา กระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Allium cepa (หอมหัวใหญ่ : onion)
    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Annona cherimola (น้อยหน่า : cherimoya)
    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Brassica napus var. napus (rape, Spring canola)
    Cajanus cajan (ถั่วมะแฮะ, ถั่วแระ : pigeon pea)
    Camellia sinensis (ชา : tea)
    Carica papaya (มะละกอ : papaw)
    Cocos nucifera (มะพร้าว : coconut)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Helianthus annuus (ทานตะวัน : common sunflower)
    Litchi chinensis (ลิ้นจี่ : litchi)
    Mangifera indica (มะม่วง : mango)
    Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
    Phoenix dactylifera (อินทผลัม, อินทผาลัม : date palm)
    Prunus persica (ท้อ : peach)
    Psidium guajava (ฝรั่ง : guava)
    Punica granatum (ทับทิม : pomegranate)
    Pyrus communis (แพร์ : European pear)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Sorghum bicolor (ข้าวฟ่าง : sorghum)
    Theobroma cacao (โกโก้ : cocoa)
    Triticum aestivum (ข้าวสาลี : wheat)
    Vigna mungo (ถั่วเขียวเมล็ดดำ : black gram)
    Vigna radiata (ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram)
    Vitis vinifera (องุ่น : grape)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมวิธีกล น้ำนมราชสีห์ สามารถถอนหรือถางออกได้ง่าย ในอินเดียมีทดลองใช้พลาสติกหนา 2-4 มิลลิเมตร ปิดทิ้งไว้ 30-45 วัน ปรากฏว่าสามารถควบคุมวัชพืชหลายชนิด รวมถึงน้ำนมราชสีห์ได้ 100, ยกเว้นแห้วหมู ควบคุมโดยสารเคมี น้ำนมราชสีห์สามารถถูกควบคุมโดยสารกำจัดวัชพืชหลายชนิด เช่น oxadiazon, oryzalin + fluometuron + metolachlor, ethalfluralin + EPTC, atrazine, diuron, fluchloralin, ametryn, cyanazine, metribuzin, prometryn, simazine butachlor, oxyfluorfen, fluazifop-butyl, chlorimuron c]t isoproturon + 2,4-D เป็นต้น และมีรายงานว่าน้ำนมราชสีห์ค่อนข้างต้านทาน propanil, trifluralin, fenoxaprop, thiobencarb, pendimethalin และ asulam ในทางตรงกันข้าม น้ำนมราชสีห์อ่อนแอต่อ 2,4-D, butralin, metolachlor, oxyfluorfen, atrazine สามารถควบคุมด้วย paraquat และ glyphosate อย่างไรก็ตามการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมน้ำนมราชสีห์ในพื้นที่การเกษตร ต้องคำนึงถึงชนิดของพืชปลูกในที่นั้นด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2552. สมุนไพร: น้ำนมราชสีห์. URL: http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/herb/115-euphobia
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[7] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[8] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication