ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Fimbristylis miliacea (L.) Vahl
ชื่อพ้อง (Synonym) Scirpus miliaceus L., Fimbristylis littoralis Gaud., Isolepis miliacea (Linnaeus) J. Presl & C. Presl, Scirpus bengalensis Persoon, Trichelostylis miliacea (Linnaeus) Nees
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หนวดปลาดุก หญ้าหนวดแมว หญ้ารัดเขียด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) common fringe-rush, forked fimbry, lesser fimbristylis, tall fringe-rush, two-leaf fimbristylis
Family Cyperaceae
Genus Fimbristylis
Species miliacea
Variety
วัชพืชประเภทกก อายุฤดูเดียว ลำต้นขึ้นเป็นกอแน่น อัดกันแน่น ประกอบดวยใบและบำต้นที่สร้างดอก สูง 20-50 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวแตกจากโคนต้น มีแผ่นใบสั้นๆ และมีใบประดับม้วนซ้อนกัน ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ คล้ายร่มชั้นเดียวหรือซ้อนกันหลายชั้น ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 50-10 ช่อดอก แต่ละช่อดอกรูปร่างกลม ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ผลเดี่ยว แก่แล้วแห้งแข็งไม่แตก ลักษณะรูปสามเหลี่ยม ผิวขรุขระ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เป็นวัชพืชที่มักชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง ชื้นแฉะ เมื่องอกแล้ว สามารถเจริญเติบโตในที่น้ำท่วมชังได้ ถ้าระดับน้ำต่ำกว่ายอด
เป็นวัชพืชสำคัญในนาข้าว พบทั่วไปในที่น้ำท่วมขัง หรือดินมีความชื้นสูง เช่น ในนาข้าว แอ่งน้ำ ทางระบายน้ำ พบเป็นวัชพืชในนาข้าว หรือพืชอื่นที่ปลูกหลังนา เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว พืชผักอื่นๆ แต่อาจพบในแปลงพืชไร่ จนถึงพืชสวนด้วย เช่น ข้าวโพดฝักอ่อน มันแกว ผักคะน้า กล้วย มะพร้าว เป็นต้น พบทุกภาคของประทศไทยภาคกลาง ภาคตะวันออก
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
-
ควบคุมโดยการ ถอนออก หรือไถกลบ ก่อนที่พืชจะออกดอก หรือปล่อยน้ำให้ท่วมยอดขณะที่ต้นยังเล็ก จะทำให้ยอดเน่าและตายได้ ใช้สารกำจัดวัชพืชในนาข้าว ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อข้าว ซึ่งมีทั้งที่ใช้ก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์ และหลังวัชพืชงอก เช่น เมทซัลฟูรอน-เมทธิล+คลอริมูรอน-เอทธิล, 2,4-D, บีสไพริแบก-โซเดียม, โพรพานิล, ไพราโซซัลฟูรอน-เอทธิล เป็นต้น ซึ่งอัตราการใช้และระยะเวลาการใช้จำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?402807
[6] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[7] ประวิทย์ สุรนีรนาถ. มปป. หญ้าหนวดแมว. กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL:http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/aqplant/aqpt053.html
[8] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[9] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[10] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 2545. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable