ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Eleusine indica (L.) Gaertn.
ชื่อพ้อง (Synonym) Agropyron geminatum Schult. & Schult.f., Cynodon indicus (L.) Raspail, Cynosurus indicus L., Cynosurus pectinatus Lam., Eleusine distans Link.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าตีนกา หญ้าฝากควาย หญ้าปากคอก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) goose grass
Family Poaceae
Genus Eleusine
Species indica
Variety
วัชพืชปีเดียว วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว ลำต้นทอดนอนแล้วตั้งตรง แตกเป็นกอ สูง 3060 เซนติเมตร แผ่กว้าง ชูปลายยอดตั้งขึ้น สูงประมาณ 3060 เซนติเมตร กาบใบเกลี้ยง แต่อาจมีขนบริเวณที่ใกล้โคนใบ ลิ้นใบเป็นเยื่อบางๆ มีขนบริเวณเขี้ยวใบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลาย มี 312 แขนง (ช่อ) ออกจากจุดเดียวกัน และมักมี 1 แขนงอยู่ต่ำลงมา แกนกลางแบน มีช่อดอกย่อยจำนวนมากบนแกนกลาง ช่อดอกย่อยไม่มีก้าน ประกอบด้วยดอกย่อย46 ดอก ดอกย่อยมีก้านสั้นมากหรือไม่มี ดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ชุ่มชื้นน้อย พบขึ้นทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่ง เช่น ไหล่ทาง ที่รกร้างว่างเปล่า และเป็นวัชพืชในพืชไร่ พืชผัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย กะหล่ำปลี ผักคะน้า เป็นต้น โดยเฉพาะในดินที่ไม่มีการไถพรวน เป็นวัชพืชพบทั่วไปในทุกภาคของประทศไทย
แหล่งกำเนิดของหญ้าตีนกาไม่ทราบชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจอยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย แต่ปัจจุบันพบหญ้าตีนกากระจายทั่วไปในเขตร้อนทั่วโลก และแพร่ไปในเขตกึ่งร้อนในอเมริกาเหนือ และแอฟริกา สามารถพบได้ถึงระดับ 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในเขตร้อนแพร่กระจายทั่วประเทศ
Allium cepa (หอมหัวใหญ่ : onion)
Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Gossypium spp. (ฝ้าย : cotton)
Ipomoea batatas (มันเทศ : sweet potato)
Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Sesamum indicum (งา : sesame)
Sorghum bicolor (ข้าวฟ่าง : sorghum)
Vitis vinifera (องุ่น : grape)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
Zingiber officinale (ขิง : ginger)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้หญ้าตีนกางอกขึ้นมา ควบคุมด้วยสารเคมี เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใช้สำหรับวัชพืชประเภทใบแคบ สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ควบคุมหญ้าตีนกาได้ เช่น diuron, bromacil, atrazine, trifluralin, oxyfluorfen, fluazifop, sethoxydim, imazaquin, propanil, oxadiazon, clomazone, quinclorac, diphenamid, paraquat, glufosinate, glyphosate and flumioxazin เป็นต้น ต้องเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกและตรงตามระยะเวลาการใช้ เช่น ในแปลงข้าวโพด ใช้ isoxaflutole, pendimethalin พ่นคลุมดินก่อนข้าวโพดและวัชพืชงอก ใช้ atrazine+metolachlor, atrazine+pendimethalin หรือ atrazine + alachlor พ่นหลังจ้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว หรือวัชพืชมี 2-3 ใบ ในแปลงถั่วเหลือง ใช้ clomazone, flumioxazin, metribuzin, oxadiazon, pendimethalin หรือ sulfentrazone พ่นคลุมดินทันทีหลังปลูก ก่อนที่ถัวเหลืองและวัชพืชงอก ใช้ sethoxydim, clodinafoppropagyl หรือ propaquizafop พ่นหลังปลูกถั่วเหลือง 15-20 วัน หรือหลังวัชพืชงอกและมีจำนวนใบ 3-6 ใบ เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดจำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Noda, K., M. Teerawatsakul, C. Prakongvongs and L. Chaiwiratnukul. 1994. Project Manual no.1 Major Weeds in Thailand: illustrated by color. 3rd edition. National Weed Science Research Institute Project. Japan International Cooperation Agency and Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives. Thailand. 164 p.
[5] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[6] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[7] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[8] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[9] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[10] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[11] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[12] อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2556. การศึกษาวิจัยทางพฤษศาสตร์. URL:http://kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/plant.php
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable