ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Lindernia ciliata (Colsm.) Pennell
ชื่อพ้อง (Synonym) Bonnaya brachiata Link & Otto, Bonnaya personata Hassk, Bonnaya pusilla Benth., Bonnaya serrata A.Dietr., Cyrtandra personata Blanco
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) เงี่ยงป่า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)
Family Scrophulariaceae
Genus Lindernia
Species ciliata
Variety
วัชพืชปีเดียว เป็นพืชล้มลุก มีขนาดเล็กและมีการแตกกิ่ง ก้านสาขา ลำต้นบางส่วนละพื้นดิน สูงประมาณ 20 เซนติเมตร อายุสั้นแค่ปีเดียว รากฝอยสีน้ำตาล ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อนปนเขียว เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ (opposite) แผ่นใบบางยาวคล้ายปลายหอก (lanceolate) กว้าง 0.8 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม (acute) ฐานใบเป็นรูปลิ่ม (cuneate) ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย (serrulate) สีของใบมีสีเขียวคล้ายกันทั้ง 2 ด้าน เส้นใบแยกออกเป็น 2 แนวจากเส้นกลางใบคล้ายขนนก (pinnate) เส้นใบเห็นชัดเจน ช่อดอกเกิดบริเวณซอกใบ ก้านชูดอกมีสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงเป็นหลอด (calyx tube) บริเวณปลายแยกออก มี 5 กลีบเรียว (lanerblate) ขอบเรียบ สีเขียว ขนาด 0.5 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นหลอด (corolla tube) มีขนาด 1 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็นสองส่วน คืนส่วนกระเปาะทางด้านล่าง (posterior lobe) และกลีบดอกส่วนหน้า (anterior lobe) กลีบดอกมีสีขาว บริเวณส่วนฐานของกลีบดอกมีสีม่วงเห็นชัดเจน เกสรตัวผู้มีสองแบบ คือแบบที่มีก้านชูอับละอองเรณู มีจำนวน 2 อัน ขนาด 0.5 เซนติเมตรติดกลับกลีบดอก และแบบที่เกสรตัวผู้เป็นหมันไม่มีอับละอองเรณูติดอยู่กับกลีบดอก มีจำนวน 2 อัน ส่วนเกสรตัวเมียมีสีเหลืองอ่อนมาก ขนาด 0.8 เซนติเมตร รังไข่อยู่ส่วนบน (superior) ออวุลติดกับแกนกลาง (axile)
ความชื้นสูง
ระบาดในนาข้าวและในพื้นที่ดอนภาคตะวันออก เชียงใหม่ หนองคาย
Oryza sativa (ข้าว : rice)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2555. URL: http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/
[7] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable