ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Monochoria vaginalis (Burm.f.) C.Presl
ชื่อพ้อง (Synonym) Boottia mairei H.Lév., Gomphima vaginalis (Burm.f.) Raf., Monochoria junghuhniana Hassk., Monochoria linearis (Hassk.) Miq., Monochoria ovata Kunth
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ขาเขียด ผักอีฮิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) pickerel weed
Family Pontederiaceae
Genus Monochoria
Species vaginalis
Variety
วัชพืชปีเดียวและวัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบกว้าง ที่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อายุฤดูเดียว ลำต้นเป็นเหง้าสั้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเป็นกอใบที่แตกจากลำต้นใต้ดิน เรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบเป็นใบเดี่ยว ประกอบด้วยแผ่นใบและก้านใบอวบเรียวยาว โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มประกบกันไว้ แผ่นใบรูปหัวใจ หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยประมาณ 215 ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกติดกับก้านช่อดอกเป็นระยะๆ ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 6 กลีบ สีม่วงคราม เกสรเพศผู้ 6 อัน มี 1 อันที่มีขนาดใหญ่ สีม่วงครามเข้ม นอกนั้นมีสีเหลือง ผลเป็นผลเดี่ยว แบบแห้งแก่แล้วแตก เมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดมีสันนูนตามความยาวประมาณ 10 เส้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย เป็นพืชน้ำที่มีรากยึดเกาะดิน พบขึ้นในที่น้ำท่วมขัง เช่น หนองน้ำ แอ่งน้ำตื้นๆ ริมตลิ่ง เป็นวัชพืชที่พบทั่วไปในนาข้าว ที่มีน้ำท่วมขัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
พบระบาดในแหล่งปลูกข้าว พบทั่วประเทศ
Oryza sativa (ข้าว : rice)
-
เมล็ดขาเขียดงอกได้ดีในสภาพน้ำท่วมขัง และต้นอ่อนเจริญเติบโตได้ดี จึงไม่สามารถควบคุมได้โดยระดับน้ำ สามารถถอนออกได้ไม่ยาก แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในสภาพน้ำท่วมขัง เมล็ดขาเขียดสามารถงอกได้สูงสุดหลังหลุดร่วงจากต้น 15-25 วัน ดังนั้นในสภาพเช่นนี้การพ่นสารกำจัดวัชพืชเพียงครั้งเดียวหลังจากขาเขียดงอกเป็นส่วนใหญ่ จะสามารถควบคุมขาเชียดได้ตลอดฤดูการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ในสภาพที่ดินแห้งหรือมีน้ำอิ่มตัวขาเขียดสามารถงอกได้ตลอดเวลา ดังนั้นการกำจัดวัชพืชเพียงครั้งเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพพอ การศึกษาในฟิลิปปินส์ พบว่า แหนแดง (เฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง) ที่ขึ้นหนาแน่นเป็นผืนเสื่อ สามารถกดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าว โดยเฉพาะขาดเขียดได้ สารเคมีที่สามารถใช้ควบคุมขาเขียดในนาข้าว ได้แก่ butachlor, bensulfuron, bentazone, butralin, chlomethoxyfen, cinmethylin, 2,4-D, glyphosate, MCPA, oxadiazon, oxyfluorfen, paraquat, pendimethalin, piperophos และ pretilachlor. อ่อนแอต่อ quinclorac และ thiobencarb, แต่ต้านทานหรือทนต่อ fenoxaprop
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Guang-Xi, W., L. Wei, W. Xiao-Chun and I. Kazuyuki. 2004. Taxonomy of the genus Monochoria (potederiaceae) in Asia. Pl.Biology 5: 39-52.
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] ประวิทย์ สุรนีรนาถ. มปป. ขาเขียด. กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL: http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/aqplant/aqpt083.html
[6] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[7] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[8] สุชาดา ศรีเพ็ญ และ คุณหญิง. 2545. พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 312 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable