ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Heliotropium indicum L.
ชื่อพ้อง (Synonym) Eliopia riparia Raf., Eliopia serrata Raf., Heliophytum indicum (L.) DC., Heliotropium africanum Schumach. & Thonn., Heliotropium cordifolium Moench
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้างวงช้าง ผักงวงช้าง หญ้างวงช้างน้อย ผักแพวขาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) Indian heliotrope, devil weed, scorpion weed
Family Boraginaceae
Genus Heliotropium
Species indicum
Variety
วัชพืชปีเดียว วัชพืชประเภทใบกว้าง อายุปีเดียว เป็นพืชล้มลุกต้นสูงประมาณ 40 ซม. ตามลำต้นและก้านใบเป็นขน โดยเฉพาะตามยอดอ่อนจะเห็นขนได้ชัดเจน ใบเดี่ยวออกตามข้อๆละใบ ดอกเป็นช่อยาวปลายช่อมวนงอลักษณะคล้ายงวงช้าง ช่อดอกออกตามยอด ดอกเล็กสีม่วงอ่อน ดอกหนึ่งมี 5 เมล็ด มีดอกตลอดปี พบทั่วไป
พบขึ้นทั่วไปทั้งที่ชุ่มชื้นและที่ดอน เป็นวัชพืชในนาหลังเก็บเกี่ยว แปลงผัก ข้าวโพด ยาสูบ
พบทั่วไปในที่โล่งริมน้ำและหนองน้ำในที่ชื้น พบทั่วประเทศ
Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
Carica papaya (มะละกอ : papaw)
Ceiba pentandra (นุ่น : kapok)
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Manihot esculenta (มันสำปะหลัง : cassava)
Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Phaseolus vulgaris (ถั่วแขก, ถั่วแดงหลวง : common bean, red kidney bean, kidney bean)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Sesamum indicum (งา : sesame)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[5] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[6] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[7] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[8] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[9] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable