Celosia argentea L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Celosia argentea L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Amaranthus cristatus Noronha, Amaranthus huttonii H.J.Veitch, Amaranthus purpureus Nieuwl., Amaranthus pyramidalis Noronha, Celosia argentea f. argentea
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หงอนไก่ดอกกลม; หงอนไก่ฝรั่ง; หงอนไก่ฟ้า; กระลารอน; ชองพุ; ดอกด้าย; ด้ายสร้อย; สร้อยไก่; หงอนไก่; หงอนไก่ดง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  celosia

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Amaranthaceae
    Genus  Celosia
          Species  argentea
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบกว้าง เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 20-150 เซนติเมตร ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลำต้นฉ่ำน้ำ มีร่องตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น เรียงตัวแบบสลับ ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งและยอด ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม หรือรูปกรวยยาว ก้านช่อดอกยาว ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบประดับรูปหอก สีขาว เป็นมัน ปลายเรียวแหลม  มีเส้นกลางใบ 1 เส้น กลีบดอกรูปใบหอกขอบขนาน ปลายเรียวแหลม เกสรเพศผู้สีม่วง ก้านเกสรเพศเมียสีม่วง ผลรูปไข่มีเปลือกที่เป็นส่วนของกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เมล็ดรูปไต ผลเป็นผลแห้ง  แบน สีดำ เป็นมัน แก่แล้วแตกตามขวาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

ที่โล่งแจ้งหรือมีร่มเงาบางส่วน ดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง

การแพร่กระจาย (Distribution)

หงอนไก่ป่า เป็นวัชพืชที่พบขึ้นทั่วไป ทั้งในพื้นที่การเกษตรและไม่ได้ทำการเกษตร ที่น้ำไม่ท่วมขัง เช่น ไหล่ทาง ที่รกร้างว่างเปล่า ไหล่ทาง เป็นวัชพืชในแปลงพืชไร่ พืชผัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ทานตะวัน และสวนยาง

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : peanut)
    Avena sativa (ข้าวโอ๊ต : oat)
    Cajanus cajan (ถั่วมะแฮะ, ถั่วแระ : pigeon pea)
    Colocasia esculenta (เผือก : taro)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Hibiscus sabdariffa (กระเจี๊ยบแดง : roselle)
    Ipomoea batatas (มันเทศ : sweet potato)
    Nicotiana tabacum (ยาสูบ : tobacco)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Sesamum indicum (งา : sesame)
    Sorghum bicolor (ข้าวฟ่าง : sorghum)
    Vigna mungo (ถั่วเขียวเมล็ดดำ : black gram)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[3] ปราโมทย ไตรบุญ, อัจฉรา นันทกิจ, จันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์, ไชยยศ สพัฒนกุล, เพ็ญศรี นันทสมสราญ, ศิริพร ซึงสนธพริ และจรัญญา ปิ่นสุภา. 2550. การสำรวจและรวบรวมชนิดวัชพืชในทุเรียน. แบบรายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550. 10 หน้า. URL: http://it.doa.go.th/refs/files/452_2550.pdf
[4] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[5] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[6] วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล และ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2539. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 264 หน้า.
[7] อำไพ ยงบุญเกิด, สกล สุธีสร และ จเร สดากร. 2527. วัชพืชในสวนยางพารา. เอกสารวิชาการ สววท หมายเลข 3. สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 171 หน้า
[8] เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพรรณพืช. โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพ.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication