ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Cleome rutidosperma DC.
ชื่อพ้อง (Synonym) Cleome ciliata Schumach. & Thonn., Cleome guineensis Hook.f., Cleome guineensis Hook.f., Cleome thyrsiflora De Wild. & T.Durand
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) ผักเสี้ยนผี, ผักเสี้ยนป่า
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) consumption weed
Family Capparidaceae
Genus Cleome
Species rutidosperma
Variety
วัชพืชปีเดียว ประเภทใบกว้างไม้ล้มลุก สูง 30-100 ซม. ส่วนต่างๆ มีต่อมขนปกคลุม บางครั้งเกลี้ยง ใบประกอบ 3 ใบย่อย ก้านใบยาว 0.53.- 5 ซม. ใบย่อยรูปใบหอกกลับหรือคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแกมรูปไข่ ยาว 13.5 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนเรียวสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อยละเอียด บางครั้งมีขนครุยหรือเรียบ ใบประดับคล้ายใบ มี 3 ใบย่อย ยาว 13.5 ซม. มีก้านสั้นๆ ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ยาว 24 ซม. ขยายอีกในช่อผล ดอกมีได้ประมาณ 6 ดอก ในแต่ละช่อ ก้านดอกยาว 12 ซม. ในผลยาวได้ถึง 3 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบรูปใบหอก ยาว 2.54 มม. ขอบมีขนครุย ติดทน กลีบดอก 4 กลีบ ส่วนมากสีม่วงอ่อน กลีบคู่บนมักมีสีขาวที่โคนกลีบ ก้านกลีบสั้น แผ่นกลีบรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 0.71 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรสีขาวอมม่วง ยาว 57 มม. อับเรณูสีเทา รูปขอบขนาน ยาว 12 มม. ก้านรังไข่สั้น ยืดยาวในผล ยาวได้ประมาณ 1 ซม. รังไข่รูปทรงกระบอกสั้นๆ ยาวประมาณ 2 มม. โค้งงอ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแบบแคปซูล มีริ้ว ยาว 4.57 ซม. เมล็ดมี 425 เมล็ด ผิวขรุขระ สีน้ำตาลแดงปนดำ ยาวประมาณ 1.5 มม. ขยายพันธุ์ด้วยมล็ด
พบตามที่รกร้างว่างเปล่า ไหล่ทาง ทั้งที่โล่งและร่มเงา เป็นวัชพืชในพืชผัก พืชสวน ปาล์มน้ำมัน และพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย
พบขึ้นตามข้างถนน ที่รกร้าง ชายป่าทั่วไปและตามริมหนองน้ำที่โล่ง
Elaeis guineensis (ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm)
Gossypium spp. (ฝ้าย : cotton)
Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
Calopogonium sp. (ถั่วคาโลโป : calopogonium)
Centrosema pubescens (ถั่วลาย, ถั่วสะแดด : Butterfly pea )
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Mucuna pruriens (หมามุ้ย, หมามุ่ย : velvet bean)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Pueraria phaseoloides (ถั่วเสี้ยนป่า : tropical kudzu)
Vigna radiata (ถั่วเขียว : Mung BeanGreen BeanGreen GramGolden Gram)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น ใช้แรงงานคนถอน หรือตัดฟันก่อนที่พืชออกดอก หรือใช้วัสดุคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นอ่อนงอกและเจริญขึ้นมาเหนือดินได้ ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D MCPA หรือสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลายทำลาย เช่น พาราควอท ไกลฟอเสต หรือใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทคลุมฆ่า ก่อนต้นอ่อนงอก หรืองอกแล้วมีใบไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ต้องเลือกสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และขณะฉีดพ่นต้องไม่ให้ถูกพืชปลูกด้วย เช่น Bentazone, butachlor, 2,4-D, MCPA และ oxidiazon ในข้าว nicosulphuron acetochlor ในข้าวโพด cyanazine, metolachlor, metribuzin และ cinmethylin ในถั่วเหลือง เป็นต้น.
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[3] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[4] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[5] สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้. 2555. URL: http://web3.dnp.go.th/botany/dictindex.aspx
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable