Limnocharis flava (L.) Buchenau

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Limnocharis flava (L.) Buchenau
ชื่อพ้อง (Synonym)  Alisma flavum L., Damasonium flavum (L.) Mill., Limnocharis emarginata Humb. & Bonpl., Limnocharis flava var. indica Buchenau, Limnocharis plumieri Rich.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ตาลปัตรฤาษี คันจอง นางกวัก บัวลอย ตาลปัตรยายชี 
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  flowering rush, hermit's waterlily, sawah lettuce, velvet leaf, yellow sawah lettuce, yellow velvetleaf

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Limnocharitaceae
    Genus  Limnocharis
          Species  flava
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืช วัชพืชประเภทใบกว้าง ที่เป?นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อายุหลายฤดู ลำต?นใต้ดินเป?นเหง?า มีใบแตกขึ้นมาเป็นกอเหนือดิน ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบใหญ่รูปไข่หรือรูปรีเกือบกลม ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม ก้านใบอวบหนาหน้าตัดคล้ายรูปสามเหลี่ยม โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้ม ใบอ?อนแผ?นใบม?วนเข?าหากัน ดอกออกเป็นช่อแบบดอกย่อยเกิดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อดอก ประมาณ 215 ดอก ก้านดอกย่อยยาวใกล้เคียงกัน และที่โคนมีใบประดับรองรับดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อยยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สวนของดอกย่อยประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 ลีบ รูปไข่ป้อม กลีบดอก 3 กลีบ สีเหลืองสดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมากและมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันด้วย ผลกลุ่มที่ประกอบด้วยผลเดี่ยวจำนวนมาก แต่อยู่ร่วมกันเหมือนเป็นผลเดี่ยว รูปร่างกลมขนาดกว้าง 12 เซนติเมตร เมล็ดเมื่อแก่มีสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ตาลปัตรฤๅษีสามารถผลิตเมล็ดได้ตลอดปี หนึ่งต้นอาจผลิตเมล็ดได้มากถึง 1,000,000 เมล็ดต่อปี ช่อผลเมื่อแก่มักจะโน้มลงสู่แหล่งน้ำ และมักมีต้นอ่อนงอกมาจากช่อผลด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

เป็นวัชพืชน้ำที่มีรากยึดเกาะดิน พบตามแหล่งน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวที่ยังมีความชื้นมากพอ

การแพร่กระจาย (Distribution)

แพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำตื้นๆ หรือในนาข้าว พบทั่วประเทศ

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

     Oryza sativa (ข้าว : rice)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

ควบคุมโดยเขตกรรม โดยการไถดินขณะยังเปียกและถอนตาลปัตรฤๅษีออกในช่วงการปลูกข้าวการควบคุมโดยวิธีกล ในนาหว่านอาจใช้เครื่องกำจัดวัชพืชแบบใช้มือดึง (hand-pushed rotary weeders) ควบคุมด้วยสารเคมี ใช้สารกำจัดวัชพืชสำหรับควบคุมวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น 2,4-D amine และ metsulfuron แต่มีการพบว่าตาลปัตรฤๅษีต้านทาน 2,4-D ในอินโดเนเชีย และสารกำจัดวัชพืชกลุ่มยับยั้งการสร้าง acetolactate synthase (ALS-inhibiting herbicide) ในมาเลเชีย มีการใช้สารผสมของ bentazon กับ MCPA หรือ Bentazon sodium หรือ MCPA dimethyl สามารถควบคุมตาลปัตรฤๅษีที่ต้านทานสารเคมีได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืช จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสารนั้นไม่เป็นอันตรายต่อพืชปลูกด้วย

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Azmi, M. 2008. Limnocharis flava (yellow bur-head). Invasive Species Compendium – CABI 2012. URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=30804&loadmodule= datasheet&page=481&site=144
[2] CAB International. 2012. Invasive Species Compendium. Datasheets > Limnocharis flava (yellow bur-head). URL: http://www.cabi.org/isc/?compid=5&dsid=30804&loadmodule = datasheet&page=481&site=144
[3] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[4] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[5] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[6] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?22246
[7] ประวิทย์ สุรนีรนาถ. มปป. ตาลปัตรยายชี ตาลปัตรฤาษี บอนจีน ผักก้านจอง. กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. URL:http://www.ku.ac.th/AgrInfo/thaifish/aqplant/aqpt032.html
[8] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[9] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[10] สุชาดา ศรีเพ็ญ และ คุณหญิง. 2545. พรรณไม้น้ำในประเทศไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 312 หน้า.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication