Panicum maximum Jacq.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Panicum maximum Jacq.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Megathyrsus maximus (Jacq.) B.K.Simon & Jacobs, Megathyrsus maximus var. coloratus (C.T.White) B.K.Simon & Jacobs, Megathyrsus maximus var. pubiglumis (K.Schum.) B.K.Simon & Jacobs, Panicum bivonianum Brullo, Miniss., Scelsi & Spamp., Panicum eburneum Trin.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หญ้ากินนี 
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  Guinea grass

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Panicum
          Species  maximum
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

 วัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบแคบ อายุหลายปี ลักษณะเป็นกอตั้งตรง แตกกอดี มีรากตามข้อด้านล่าง ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบมีขนสาก แผ่นใบเกลี้ยง มีขนยาวห่างๆ หรือขนสั้นนุ่ม คอใบมีขน ลิ้นใบเป็นเยื่อ ปลายเป็นขน ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกย่อยรูปขอบขนาน กาบช่อย่อยล่างรูปไข่กว้าง ปลายแหลม เนื้อบาง ขอบเป็นเยื่อบางใส กาบช่อย่อยบน ปลายแหลม คล้ายเยื่อ เส้นกาบ 5 เส้น ดอกย่อยดอกล่างไม่มีเพศหรือเพศผู้ ปลายเป็นติ่ง เนื้อคล้ายเยื่อ เส้นกาบ 7 เส้น มีขน กาบบน รูปเรือ เนื้อเป็นเยื่อบางใส ดอกบนสมบูรณ์เพศ กาบล่างรูปเรือ ยาว 22.2 มม. ปลายแหลม เนื้อแข็งเปราะ มีรอยย่อยตัดขวาง เกลี้ยง กาบบนรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว 22.1 มม. ปลายแหลม เนื้อแข็งเปราะ มีรอยย่นตัดขวาง ขอบเรียบ กลีบเกล็ด 2 อัน ทนต่อสภาพร่มเงาได้ดี เหมาะสำหรับปลูกบนพื้นที่ดอนมีดินเหนียวจนถึงดินทรายและในพื้นที่เขตชลประทาน ปลูกขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อพันธุ์

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

เป็นพืชอาหารสัตว์ชนิดหนึ่งที่ถูกชักนำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 1901 – 2011 ทั้งสิ้น จำนวน 13 ครั้ง จาก ไอเวอรี่โคต อินโดนเนเชีย ญี่ปุ่น มาเลเชีย ออสเตรเลีย มีการนำไปปลูกในภูมิภาค จากความคุณสมบัติพิเศษของพืช เช่น เมล็ดขนาดเล็กที่สามารถแพร่กระจายโดยลม ติดไปกับสัมภาระ และสัตว์เลี้ยง ทนแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในที่แจ้ง และร่มเงา ขยายพันธุ์ได้เมล็ดและเหง้า ปัจจุบันจึงพบวัชพืชชนิดนี้ทั่วไปตามไหล่ทาง ทุ่งหญ้า และเป็นวัชพืชในพืชไร่ พืชสวน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ทานวัน อ้อย มะม่วง เป็นต้น พบทุกภาคของประทศไทย

การแพร่กระจาย (Distribution)

หญ้ากินี ถูกชักนำจากเขตร้อนของทวีปแอฟริกาไปยังหลายประเทศในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลกเนื่องจากสามารถใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ คาดว่าพืชชนิดนี้ถูกชักนำเข้าชมพูทวีปตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2343 (ค.ศ.1800) พืชชนิดนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ออกไป เมล็ดถูกพัดพาโดยลม พืชสามารถทนความแห้งแล้งเป็นระยะเวลานาน กอหญ้ากีนีที่ถูกไฟเผาจะทำลายเฉพาะส่วนเหนือดิน แต่เหง้าที่อยู่ใต้ดินสามารถสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ปัจจุบันหญ้ากินีมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา เอเชีย จนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในประเทศไทยพบที่จังหวัดนครราชสีมา

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
    Agave sisalana (ป่านศรนารายณ์, สับปะรดเทศ, สับปะรดเทศ : Agave)
    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
   Cocos nucifera (มะพร้าว : coconut)
    Elaeis guineensis (ปาล์มน้ำมันแอฟริกัน : African oil palm)
    Musa x paradisiaca (กล้วยมาทูเก้, กล้วยอูกานดา : Matuke)
    Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Persea americana (อะโวคาโด : avocadoavocado pearalligator pear)
    Theobroma cacao (โกโก้ : cocoa)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

หญ้ากินีเป็นวัชพืชใบแคบ อายุหลายปี การควบคุมโดยการใช้แรงงานตัด ถอนออก หรือไถกลบ ทำได้ยากและสิ้นเปลืองงบประมาณและแรงงานมาก จำเป็นต้องใช้หลายวิธีการ่วมกัน เช่น การควบคุมด้วยสารเคมี เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใช้สำหรับวัชพืชประเภทใบแคบ ร่วมด้วยกับการเตรียมดิน เช่น การไถพรวนกลับให้เหง้าใต้ดินขึ้นมาเหนือดินเพื่อทำลายส่วนที่มีอายุข้ามปี พ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก (pre-emergence herbicide) เพื่อป้องการกลับมาเจริญอีก และใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังงอก (post-emergence herbicide) ที่มีคุณสมบัติดูดซึม เพื่อทำลายทั้งส่วนเหนือและใต้ดิน เช่น glyphosate ก่อนที่พืชจะมีดอก สร้างเมล็ด หรือเตรียมดินโดยไถพรวนเพื่อให้เหง้าในดินถูกตัด เมื่อต้นอ่อนหญ้ากินีงอกและเจริญอย่างรวดเร็ว พ่นด้วย fluazifop-butyl และ sethoxydim จะสามารถควบคุมได้ดี ถ้าหญ้ากินีมีขนาดกอใหญ่ อาจต้องตามด้วยการฉีดสารกำจัดวัชพืชเฉพาะจุดการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชในพืชปลูกแต่ละชนิด ต้องระวังเลือกใช้ชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก แต่ในพืชบางชนิด เช่น อ้อย ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้ากินี ดังนั้นจึงยากที่จะใช้สารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบอายุหลายปีได้โดยไม่เป็นพิษอ้อยเลย ดังนั้นอาจต้องเลือกปลูกพืชอื่นที่ทนต่อสารเคมีที่จะใช้ควบคุมหญ้ากินี หลังจากนั้นจึงค่อยปลูกอ้อย ซึ่งอัตราและระยะเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิด จำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Clayton, W.D., M.S. Vorontsova, K.T. Harman and H. Williamson. 2012. GrassBase - The Online World Grass Flora. URL:http://www.kew.org/data/grasses-db/www/imp07509.htm
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 2545. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[7] สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 14. 2540. พืชอาหารสัตว์. URL: http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter5/t14-5-l2.htm

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication