ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Leptochloa chinensis (L.) Nees
ชื่อพ้อง (Synonym) Cynodon virgatus Willd., Eleusine chinensis F.Muell., Leptochloa eragrostoides Steud., Leptochloa tetraquetra J.Presl, Poa chinensis L.
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai) หญ้าดอกขาว หญ้าลิเก หญ้าไม้กวาด หญ้าพระเอก
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name) Chinese sprangletop, Asian sprangletop, red sprangletop
Family Poaceae
Genus Leptochloa
Species chinensis
Variety
วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว ลำต้นแตกเป็นกอ สูง 30-120 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง หรือทอดนอนแล้วชูยอดขั้น มีรากตามข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนหบาย ลิ้นใบเป็นเยื่อบางๆ ปลายแตกเป็นแฉก ดอกออกเป็นช่อที่ปลาย ยาว 20-60 เซนติเมตร ก้านช่อดอกย่อยแตกเป็นแขนงย่อยจำนวนมาก ช่อดอกย่อยสีเขียวอ่อน-แดง แต่ละช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกอย่อย 3-7 ดอก ผลเป็นแบบผลแห้ง มีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
มักพบในที่น้ำขัง ตามร่องน้ำ เป็นวัชพืชร้ายแรงชนิดหนึ่งในนาข้าวในประเทศไทยและหลายประเทศในเอเชีย แต่ละต้นสามารถผลิตเมล็ดขนาดเล็กได้จำนวนมาก ไม่งอกในสภาพน้ำท่วมข้ง แต่สามารถเจริญเติบโตได้หากน้ำท่วมหลังจากงอกแล้ว
เมล็ดหญ้าดอกขาวมีขนาดเล็กมาก สามารถปลิวไปตามลม หรือถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วัชพืชชนิดนี้ระบาดได้ง่ายขึ้น หญ้าดอกขาวมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย พบในนาข้าว หนองน้ำ หรือแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำไม่ลึกนัก พบในทุกภาคของประทศไทย
Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
Oryza sativa (ข้าว : rice)
Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)
-
ควบคุมโดยวิธีกล เช่น สำหรับหญ้าดอกขาวที่งอกจากเมล็ด ใช้แรงงานคนถอน ตัด ถาง หรือไถกลบ ตั้งแต่เป็นต้นอ่อน หรือก่อนที่พืชออกดอก ควบคุมด้วยสารเคมี เลือกใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดใช้สำหรับวัชพืชประเภทใบแคบ สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ควบคุมหญ้าดอกขาวได้ เช่น pretilachlor, fluazifop-butyl, glufosinate, imazapy butachlor, fenoxaprop, และ thiobencarb เป็นต้น ต้องเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชที่ไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกและตรงตามระยะเวลาการใช้ เช่น สารกำจัดวัชพืช dimethenamid, alachlor, butachlor, oxyfluorfen, thiobencarb ใช้หลังเตรียมแปลงเสร็จและก่อนหว่านข้าว 3-5 วัน สารกำจัดวัชพืช pretilachlor, clomazone, butachlor, bensulfuron-methyl/quinchlorac, ใช้หลังหว่านข้าว 3-7 วัน ซึ่งอัตราการใช้และระยะเวลาการใช้จำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้
[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] Scher, J.L. and D.S. Walters. 2010. Federal noxious weed disseminules of the U.S. Factsheets: Leptochloa chinensis (L.) Nees. California Department of Food and Agriculture, and Center for Plant Health Science and Technology, USDA, APHIS, PPQ. URL:http://itp.lucidcentral.org/id/fnw/key/FNW_Grasses/Media/Html/fact_sheets/Leptochloa_chinensis.htm
[6] USDA, ARS, National Genetic Resources Program. nd. Germplasm Resources Information Network - (GRIN) [Online Database]. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. URL: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxon.pl?27206
[7] ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2555. หญ้าดอกขาว. URL: http://www.qsbg.org/Database/ _Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1597.
[8] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[9] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[10] อำไพ ยงบุญเกิด. 2514. เอกสารทางวิชาการ วัชพืชบางชนิดในไร่ข้าวโพด. กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรม. 31 หน้า.
[11] โครงการความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอาหารสัตว์พื้นเมือง. มปป. หญ้าดอกขาว Leptochloa chinensis (L.) Nees วงศ์ Gramineae. URL:http://www.dld.go.th/ncna_nak/leptochloachinensis.html
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable