Oryza rufipogon Griff.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Oryza rufipogon Griff.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Oryza glumipatula Steud., Oryza meridionalis N.Q.Ng, Oryza nivara S.D.Sharma & Shastry, Oryza paraguayensis Wedd. ex E. Fourn., Oryza perennis var. cubensis Sampath
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  ข้าวป่า ข้าวผี ข้าวหาง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  wild rice, brownbeard rice, common wild rice, perennial wild red rice

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Oryza
          Species  rufipogon
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

วัชพืชประเภทใบแคบ อายุปีเดียว/หลายปี ลักษณะคล้ายข้าว ลำต้นทอดยาวไปกับพื้น แตกแขนง ต้นตั้งตรง สูง 50-100 เซนติเมตร ใบเรียวยาว ปลายแหลม ตรงฐานใบมีเขี้ยวใบและหูใบ ดออกออกเป็นช่อที่ปลาย ช่อดอกแตกแขนง ก้านดอกย่อยแต่ละก้านมีดอกเพียง 1 ดอก กาบล่างของดอกมีหางเป็นเส้นยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ซึ่งจะติดอยู่ตลอดไป ผลเป็นแบบผลแห้ง ผล (เมล็ด) ร่วงง่ายเมื่อแก่ หนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือส่วนของลำต้นที่มีข้อ

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

มักพบในที่น้ำขัง ตามร่องน้ำ นาข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง

การแพร่กระจาย (Distribution)

ข้าวป่ามีลักษณะคล้ายกับข้าว ในช่อดอกเดียวกัน เมล็ดแก่ไม่พร้อมกัน เมล็ดที่แก่ก่อนข้าวจะหลุดร่วงลงสู่ดิน ส่วนเมล็ดที่แก่พร้อมหรือหลังข้าวก็จะถูกเก็บเกี่ยวไปกับข้าว หากนำเมล็ดข้าวเหล่านั้นไปปลูกต่อก็จะมีเมล็ดข้าวป่าติดไปด้วย หากนำไปสีก็จะทำให้คุณภาพข้าวต่ำลง เนื่องจากข้าวป่ามักมีสีแดง และแข็ง หุงสุกได้ยาก หางยาวของข้าวทำให้เมล็ดสามารถติดไปกับชนสัตว์ หรือสัมภาระได้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้แพร่กระจายได้ดีขึ้น ข้าวป่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและกึ่งร้อน ยกเว้นในแอฟริกา ภาคกลางจนถึงภาคเหนือตอนล่าง เคยระบาดในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี และพิษณุโลก

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Oryza sativa (ข้าว : rice)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

การป้องกัน เลือกใช้เมล็ดพันุ์ข้าวที่ไม่มีเมล็ดข้าวป่าปลอมปน เครื่องจักร เครื่องยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ทางการเกษตรที่นำไปใช้ในพื้นที่ที่มีข้าวป่าระบาด ต้องทำความสะอาดเพื่อไม่ให้เมล็ดวัชพืชและข้าวป่าติดไปยังพื้นที่อื่น การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ในแปลงที่มีข้าวป่าระบาดรุนแรง ควรปล่อยให้ข้าวป่างอกและไถกลบ เพื่อลดเมล็ดพันธุ์ที่ยังอยู่ในดิน เมล็ดข้าวป่าจะไม่งอกในสภาพมีน้ำท่วมขัง การเริ่มปลูกข้าวในสภาพที่มีน้ำท่วมขัง เช่น การดำ หรือการโยนกล้า ก็จะช่วยลดการงอกของข้าวป่าได้ นอกจากนี้ยังอาจเลือกปลูกข้าวพันธุ์เบา ที่ออกรวงและแก่ก่อนข้าวป่า การกำจัดข้าวป่าหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็จะทำได้ง่ายขึ้น การควบคุมโดยการถอน-ตัดออก หากไม่สามารถแยกความแตกต่างกับข้าวปลูกได้ ต้องคอยให้ข้าวป่าออกดอกแล้วตัดให้ชิดโคน ก่อนที่จะติดเป็นเมล็ด นำออกไปทำลายนอกแปลง เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์ต่อไป การตัดหรือดึงออก หากสามารถแยกแยะต้นอ่อนข้าวกับข้าวป่าได้ ควรถอนออก ถ้าหากคอยจนต้นโต หรือข้าวป่าออกดอก ต้องใช้วิธีการตัดข้าวป่าออก โดยตัดให้ชิดโคน เพื่อไม่ให้ข้าวป่าเพิ่มเมล็ดพันธุ์ลงไปในนาอีก ซึ่งหากทำต่อเนื่อง คอยเฝ้าระวังไม่ให้ข้าวป่าเจริญเติบโตสร้างเมล็ดเติมลงไปในดิน ร่วมกับการไม่นำเมล็ดพันธุ์ข้าวป่าเข้ามาในนาเพิ่ม ก็จะสามารถกำจัดข้าวป่าออกจากนาได้ การควบคุมด้วยสารเคมี เนื่องจากข้าวปลูกและข้าวป่า มีคุณสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกันมาก หากต้องการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดข้าวป่าในนาข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าวควรชุบหรือเคลือบด้วยสารบางอย่าง เช่น NA (1,8-naphthalic anhydride) เพื่อป้องกันเมล็ดข้าว สารกำจัดวัชพืชที่มีรายงานสามารถใช้ควบคุมข้าวป่า ในนาข้าว มีหลายชนิด เช่น thiobencarb, dimethenamid, pretilachlo และ butachlor พ่นในนาหลังเตรียมดิน โดยให้มีน้ำขัง 3-5 เซนติเมตร และขังน้ำไว้ 3-5 วัน แล้วจึงระบายน้ำออกก่อนหว่านข้าว ซึ่งอัตราการใช้และระยะเวลาการใช้จำเป็นต้องศึกษาฉลากกำกับสารกำจัดวัชพืชให้ดีก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[4] จรรยา มณีโชติ, พนมวัน บุญช่วย, อริยา เผ่าเครื่อง, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม และ ศันสนีย์ จำจด. 2550. ความสำเร็จในการทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อควบคุมการระบาดของข้าววัชพืชในนาข้าว. ใน การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 8. วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2550. โรงแรมอัมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก.
[5] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[6] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[7] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[8] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. มปป. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[9] สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. มปป. องค์ความรู้เรื่องข้าว. URL: http://www.brrd.in.th/rkb2/weed/index.php-file=content.php&id=43.htm

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication