Panicum repens L.

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Panicum repens L.
ชื่อพ้อง (Synonym)  Panicum arenarium Brot., Panicum chromatostigma Pilg., Panicum convolutum P.Beauv. ex Spreng., Panicum ischaemoides Retz., Panicum leiogonum Delile
ชื่อสามัญภาษาไทย (Common name , Thai)  หญ้าชันกาด 
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ (Common name)  torpedograss, creeping panicgrass, creeping witchgrass

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Family  Poaceae
    Genus  Panicum
          Species  repens
              Variety  

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ (Botanical characteristics)

 วัชพืชข้ามปี วัชพืชประเภทใบแคบ อายุหลายปี อาจสูงได้ถึง 10 เซนติเมตร. มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน โคนลำต้นโค้งงอเล็กน้อย ใบรูปแถบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบมีขนสาก แผ่นใบเกลี้ยง คอใบมีขน ลิ้นใบเป็นเยื่อ. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกย่อยออกเดี่ยวๆ แคบๆ แบนด้านบนและล่าง กาบช่อย่อยเนื้อบาง ปลายแหลม กาบล่างรูปไข่กว้าง เส้นกาบ 3 เส้น กาบช่อย่อยบนรูปเรือ. ขอบเป็นเยื่อบางใส เส้นกาบ 79 เส้น ดอกย่อย 2 ดอก ดอกล่างไม่มีเพศหรือเพศผู้ กาบล่างรูปเรือ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและเหง้า

ถิ่นที่อยู่ (Habitat)

พบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะทั่วไป ชายน้ำ ข้างทางที่ชื้นแฉะ และเป็นวัชพืชสำคัญในนาข้าว และพืชที่ปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว ในไทยพบทุกภาค ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูงประมาณ 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

การแพร่กระจาย (Distribution)

หญ้าชันกาดมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั้งในยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ แอฟริกา เอเชีย จนถึงออสเตรเลีย ระบาดทั่วไปในที่รกร้าง ข้างถนน และแหล่งเพาะปลูก พบทั่วประเทศ

พืชปลูกที่พบวัชพืชระบาด (Infestation in crop)

    Ananas comosus (สับปะรด : pineapple)
    Arachis hypogaea (ถั่วลิสง : groundnut, peanut, Monkey Nut)
    Camellia sinensis (ชา : tea)
    Capsicum annuum (พริก, พริกหวาน, พริกชี้ฟ้า : chili, pepper, bell pepper, goat pepper)
    Cocos nucifera (มะพร้าว : coconut)
    Coriandrum sativum (ผักชี : coriander)
    Glycine max (ถั่วเหลือง : soyabean)
    Hevea brasiliensis (ยาง : rubber)
    Hibiscus sabdariffa (กระเจี๊ยบแดง : roselle)
   Oryza sativa (ข้าว : rice)
    Saccharum officinarum (อ้อย : sugarcane)
    Zea mays (ข้าวโพด : corn, maize)

ศัตรูธรรมชาติ (Natural enemy)

-

วิธีการควบคุม (Control measure)

หญ้าชันกาดเป็นวัชพืชใบแคบ อายุหลายปี การควบคุมโดยวิธีกล หรือใช้แรงงาน ต้องใช้เวลามา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง สารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมหญ้าสะดากน้ำเค็มได้ เช่น Glyphosate, thiobencarb, haloxyfop, quizalofop, pretilachlor, butachlor, fluazifop, sethoxydim, paraquat, fluroxypyr + triclopyr สามารถควบคุมหญ้าสะกาดน้ำเค็มได้ ขึ้นกับชนิดพืชปลูก ในคลองส่งน้ำหรือคลองชลประทานอาจใช้. Metolachlor, oxyfluorfen, prodiamine, และ pendimethalin สำหรับในนาข้าวมีสารกำจัดวัชพืชวัชพืชใหม่ๆ เช่น fenoxaprop, bispyribac-sodium, pyanchor (pyribenzoxim), bensulfuron methyl และ prosulfuron-ethyl อย่างไรก็ตาม การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้หลังวัชพืชงอก บางครั้งอาจได้ผลลดลงเมื่อวัชพืชอายุมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในของพืชเปลี่ยนไป คือเมื่อพืชมีอายุมากขึ้นเยื่อหุ้มเซลของเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ หนาขึ้น มีแป้งสะสมมาก ท่อลำเลียงมีการพัฒนาน้อย ทำให้สารกำจัดวัชพืชที่พ่นลงไปไม่สัมผัสกับเซล ไม่เกิดการดูดซึมสารเข้าไปในพืช ประสิทธิภาพจึงลดลง ดั้งนั้นจึงควรฉีดสารกำจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชยังไม่แก่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงพิษต่อพืชปลูก และต้องศึกษาอัตรา ช่วงเวลาและวิธีการใช้ ที่ระบุในฉลากของสารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Crop Protection Compendium. 2011. URL: http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[2] Global Invasive Species Database. 2005. Paspalum scrobiculatum (grass). URL: http://www.issg.org/database/species/ecology.asp?si=1423&lang=EN
[3] Noda, K. 1984. Major weeds in Thailand. illustrated by color. Project Mannual No.1 JICA/DOA., MOAC, Thailand. 142 pp.
[4] Plants Database. 2013. Needle and thread. Natural Resources Conservation Service (NRCS). USDA. URL: http://plants.usda.gov/java/
[5] ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[6] ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 8-9.
[7] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. หน้า 106-134, 467-492, 225-239.
[8] ระบบสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2555. URL:http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp
[9] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย. 2555" URL: http://www.thaibiodiversity.org/
[10] สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 2545. วัชพืชสามัญภาคกลาง. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 135 หน้า.
[11] สำนักงานหอพรรณไม้. 2554. หญ้าชันกาด Panicum repens L.. URL: http://web3.dnp.go.th/botany/ detail.aspx?wordsnamesci=Panicum0repens0L.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication