Pythium graminicola Subraman., 1928

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Pythium graminicola Subraman., 1928
ชื่อพ้อง (Synonym)  Pythium graminicola var. stagni Höhnk, 1953 
Pythium graminicola var. graminicola Subraman., 1928

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Oomycota
    Class  Peronosporea
       Order  Peronosporales
          Family  Pythiaceae
             Genus  Pythium
             Species  graminicola
              Race/Pathover  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรครากเน่าสับปะรด โรคเน่าคอดินสับปะรด
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  root rot of pineapple, pineapple damping-off

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

รากสับปะรดกุดไม่ยืดยาวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ รากมีแผลไหม้ บริเวณรอยต่อของส่วนลำต้นเหนือดินและใต้ดินมีสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นและรากเน่าดำ ใบเหลือง ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ราก, ลำต้นบริเวณเหนือดินต่อกับใต้ดิน, โคนต้น 

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

สับปะรด : pineapple (Ananas comosus)
อ้อย : sugarcane (Saccharum officinarum)
ข้าว : rice (Oryza sativa)
ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)
ข้าวบาร์เลย์ : barley (Hordeum vulgare)
ข้าวสาลี : wheat (Triticum spp.)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

หญ้าวัชพืช: turfgrass เช่น หญ้าขน, หญ้าแพรก และอื่นๆ : ()

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

ในดินบริเวณที่ปลูกพืชที่เป็นโรค มี oospore และ chlamydospore ของเชื้อพักตัวอยู่ข้ามฤดูได้หลายปี

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในประเทศไทยแยกเชื้อนี้ได้ครั้งแรกจากดินที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียในหลายแหล่งปลูกจากรายงานครั้งนี้ (Pornsuriya et al.,2008) ซึ่งแต่เดิมมีรายงานการพบเชื้อสองชนิดควบคู่กันได้แก่ Phytophthora spp. และ Pythium sp.   ในมลรัฐฮาวาย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สับปะรดที่มีอาการของโรครากเน่าโคนเน่าจะพบเชื้อสองกลุ่มคือ Phytophthora และ Pythium แต่รายงานส่วนใหญ่ตรวจพบเชื้อรา Phytophthora parasitica แต่ยังไม่มีรายงานว่าพบเชื้อ Pythium graminicola

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

ดินมีความชื้นสูงหรือมีน้ำขังแฉะหรือดินไม่ระบายน้ำ และอุณหภูมิในดินไม่สูงมากเกินไป 

วิธีการควบคุม (Control measure)

ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไไตรโคเดอร์มาป้องกันโรคในต้นกล้าก่อนปลูกและหลังปลูก

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Pornsuriya, C., Wang, H.K., Lin, F.C. and Soytong, K. (2008). First report of pineapple root rot caused by Pythium graminicola. Journal of Agricultural Technology 4(1): 139-150.
[2] อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์ พีรวรรณ วัฒนวิภาส 2552. สํารวจ รวบรวม และจําแนกรา Pythium สาเหตุโรคพืช. รายงานผลการวิจัยประจำปี 2552 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร หน้า 1476-1488.
[3] Green J, Nelson S. 2015. Heart and root rots of pineapple. College of Tropical Agriculture and Human Resources, Plant Disease PD-106 7pp.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication