Prospodium appendiculatum var. aculeatum Cummins, 1940     for Prospodium aculeatum (Cummins) A.A. Carvalho & J.F. Hennen, 2010

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Prospodium appendiculatum var. aculeatum Cummins, 1940     for Prospodium aculeatum (Cummins) A.A. Carvalho & J.F. Hennen, 2010
ชื่อพ้อง (Synonym)  Prospodium aculeatum (Cummins) A.A. Carvalho & J.F. Hennen, 2010

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Basidiomycota
    Class  Pucciniomycetes
       Order  Pucciniales
          Family  Uropyxidaceae
             Genus  Prospodium
             Species  appendiculatum (aculeatum)
              Race/Pathover  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคราสนิม
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  rust 

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

มีจุดแผลขนาดเล็กสีเหลืองปรากฏด้านบนใบเป็นกลุ่มของ urediospore ในขณะที่มีแผลจุดสีน้ำตาลแดงอยู่ด้านใต้ใบตรงตำแหน่งที่ตรงกันซึ่งเป็นกลุ่มของ teliospore ถ้าเป็นมากจะมีแผลจุดจำนวนมากครอบครองพื้นที่ใบเกือบทั้งใบ  ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ทองอุไร : yellow trumpet, yellow bell (Tecoma stans)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

พืชในวงศ์ Bignoniaceae และ Verbenaceae : ()

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

เชื้อราพักตัวอยู่บนใบพืชในรูป teliospore ได้เป็นเวลานาน จนกว่าจะงอกและเข้าทำลายใบพืชได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง และในประเทศไทย ต้นทองอุไรจะปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงาอยู่ริมถนน มีอยู่ตลอดปี จีงเป็นแหล่งที่มาของเชื้อรา

การแพร่กระจาย (Distribution)

ในประเทศไทยพบใบทองอุไรเป็นโรคราสนิมที่ไร่สุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทำการตรวจวินิจฉัยเมื่อปีค.ศ.2011 เนื่องจากพืช yellow trumpet bush (Tectona stans) พบแพร่หลายอยู่ทั่วโลก ทวีปอเมริกาพบในประเทศสหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศ เวเนซูเอลาและเมกซิโก ในทวีปอเมริกาใต้ อาฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะแปซิฟิค ดังนั้นจึงพบเชื้อรา Prospodium หลาย species แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เชื้อ Prospodium appendiculatum และ Prospodium spp. มีพืชอาศัยจำกัด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

 teliospore ของเชื้องอกได้ดีในที่ที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็น-ตอนกลางคืนประมาณ 22 องศาเซลเซียส จากนั้นจะเข้าทำลายใบพืช  

วิธีการควบคุม (Control measure)

มักจะมีการนำเชื้อรา Prospodium spp.ไปใช้เป็น biological agent  ในการกำจัดวัชพืช ซึ่งในหลายประเทศถือว่า Tecoma spp.เป็น invasive species จึงใช้เชื้อรานี้ในการกำจัดวัชพืช ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของเชื้อดังกล่าวคือการที่มีพืชอาศัยจำกัดมาก และไม่เข้าทำลายพืชอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] Bhasabutra T., Seemadua S., Shivas R.G. 2012. First record of Prospodium appendiculatum on Tecoma stans in Thailand. Australasian Plant Dis. Notes (2012) 7:123–124
[2] Wood, A.R. 2014. Observations on the gall rust fungus Prospodium transformans, a potential biocontrol agent of Tecoma stans var. stans (Bignoniaceae) in South Africa. Trop. plant pathol.39: 284-293.[online]. http://dx.doi.org/10.1590/S1982-56762014000400003.
[3] Wood AR (2008) Host-specificity testing of Prospodium transformans (Uredinales: Urophyxidaceae), a biological control agent for use against Tecoma stans var. stans (Bignoniaceae). In: Julien MH, Sforza R, Bon MC, Evans HC, Hatcher PE, Hinz HL,Rector BG (eds) Proceedings of the XII International Symposium on Biological Control of Weeds. La Grande Motte, France, 22-27, April 2007. pp. 345-348. CABI International, Wallingford, UK.

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication