Peronosclerospora maydis (Racib.) C.G.Shaw

ชื่อศัตรูพืช (Name of pest)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)  Peronosclerospora maydis (Racib.) C.G.Shaw
ชื่อพ้อง (Synonym)  Peronospora maydis, Sclerospora maydis 

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic information)

Phylum  Oomycota
    Class  Peronosporomycetes
       Order  Peronosporales
          Family  Perosporaceae
             Genus  Peronosclerospora
             Species  maydis
              Race/Pathover  

ชื่อโรค (Disease name)

ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai)  โรคราน้ำค้างข้าวโพด
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name)  downy mildew of maize

ลักษณะอาการของโรค (Disease symptoms and developments)

อาการระยะแรก Local symptoms เมื่อข้าวโพดยังเป็นต้นกล้า จะเกิดจุดสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนบนใบเลี้ยง และใบจริงสองสามใบแรก ต่อจากนั้นจุดนี้จะขยายเป็นทางสีขาวลามไปไปยังฐานใบ
อาการระยะที่สอง Systemic symptonms บนใบที่ผลิตออกมาใหม่ จะมีทางสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน เกิดขึ้นจากฐานใบถึงปลายใบ ทางดังกล่าวอาจยาวติดต่อกันไปหรือขาดเป็นช่วง บางครั้งอาจพบลักษณะอาการเป็นปื้นสีขาวจากฐานใบไปยังปลายใบ ข้าวโพดที่เป็นโรคในระยะนี้ต้นกล้าจะแห้งตายในที่สุด โดยเฉพาะพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคของต้นที่สามารถออกดอกได้แต่ก็จะไม่มีฝักหรือมีฝักก็ไม่สมบูรณ์ มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเลย ลักษณะอาการอื่นๆ ได้แก่ ยอดและดอกแตกออกเป็นพุ่ม ก้านฝักมีความยาวมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเลย

พืชอาศัย (Host range)

พืชอาศัยหลัก (Main host)

ข้าวโพด : corn, maize (Zea mays)

พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)

None Data

แหล่งที่มาของเชื้อ (Source of inoculums)

การแพร่กระจาย (Distribution)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเกิดโรค (Favorable condition)

ความชื้นของบรรยากาศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำค้าง อากาศเย็น และฝนตกชุกอย่างไรก็ตามแม้ว่าฝนจะตกชุกแต่ดินไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้ความชื้นที่สูงเกิดในระยะเวลาสั้นๆ โรคก็เกิดน้อย  อุณหภูมิของบรรยากาศ เชื้อโรคนี้จะเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็น คือประมาณ 20-26 oc
โรคจะเริ่มระบาดตอนต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมไปจนสิ้นฤดูฝน เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิ 20-26 oc และความชื้นสูงเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราชนิดนี้มาก โดยสามารถพบเชื้อโรคสร้างสปอร์เป็นผงสี

วิธีการควบคุม (Control measure)

-หลีกเลี่ยงการปลูกก่อนฝนตกชุกหรือปลูกก่อนฤดูฝน ซึ่งโดยปกติพบว่าโรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนกับข้าวโพดที่มีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคมาก แต่ถ้าต้นข้าวโพดมีอายุมากกว่า 1 เดือน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคน้อย
-กำจัดพืชอาศัย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อสาเหตุได้ พบว่า หญ้าเจ้าชู้ ข้าวฟ่าง หญ้าพง และอ้อย แสดงอาการโรคราน้ำค้าง สปอร์ที่สร้างบนพืชทั้งสี่สามารถทำให้เกิดโรคดังกล่าวแก่ข้าวโพดได้ หรือข้าวโพดที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือต้นอ่อนที่งอกใหม่จากเมล็ดที่ร่วงหล่นในแปลง เชื้อสาเหตุของโรคก็สามารถอยู่ข้ามฤดูได้เช่นกัน
-หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท (ความชื้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์) มาทำพันธุ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่ติดมากับเมล็ด เมล็ดข้าวโพดที่ได้จากต้นที่เป็นโรคเมื่อยังมีความชื้นในเมล็ดสูง(15-20เปอร์เซ็นต์) จะสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคได้
-ใช้พันธุ์ต้านทาน ปัจจุบันมีข้าวโพดทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้เป็น จำนวนมาก มีความต้านทานเชื้อสาเหตุโรคราน้ำค้างได้ดีและให้ผลผลิตสูง เช่น พันธุ์นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 สุวรรณ 3601
-ใช้สารเคมี เมตาแลกซิล (Apron 35 SD) ในอัตรา 7 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดก่อนปลูก สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และอุทัยธานี ไม่สามารถใช้สารนี้ป้องกันกำจัดโรคได้

เอกสารอ้างอิง (Reference)

[1] CIMMYT. 2013. Welcome to Maize Doctor. URL http://maizedoctor.cimmyt.org/index.php
[2] Crop Protection Compendium. 2011. URL http://www.cabi.org/cpc/default.aspx?site=161&page=4063
[3] MAF Biosecurity New Zealand. 2005. Maize pest. URL http://www.biosecurity.govt.nz/pest/search
[4] Nasir, M., D.B. Letham, S.J. Singh and P.J. Wilcock. 1998. Maize diseases of Australia and the world. Australian Quarantine and Inspection Service, Australia.
[5] PQR-EPPO. 2007. European and mediterranean plant protection organization: PQR version 4.6 – EPPO plant qurantine data retrieval system. URL http://www.eppo.org/DATABASES/pqr/pqr.htm

แหล่งเก็บรักษาตัวอย่างอ้างอิง (Specimen depository)

สถานภาพศัตรูพืช (Pest status)

Presence

☐ Present: in all parts of the area
☐ Present: only in some areas
☐ Present: except in specified pest free areas
☐ Present: in all parts of the area where host crop(s) are grown
☐ Present: only in some areas where host crop(s) are grown
☐ Present: only in protected cultivation
☐ Present: seasonally
☐ Present: but managed
☐ Present: subject to official control
☐ Present: under eradication
☐ Present: at low prevalence

Absence

☐ Absent: no pest records
☐ Absent: pest eradicated
☐ Absent: pest no longer present
☐ Absent: pest records invalid
☐ Absent: pest records unreliable
☐ Absent: intercepted only

Transience

☐ Transient: non-actionable
☐ Transient: actionable, under surveillance
☐ Transient: actionable, under eradication