ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) Alternaria alternata (Hansf.) Tubaki & Nishih
ชื่อพ้อง (Synonym) Alternaria alternata f.sp. fragariae, Alternaria alternata f.sp. lycopersici, Alternaria fasciculata, Alternaria tenuis
Phylum Ascomycota
Class Dothideomycetes
Order Pleosporales
Family Pleosporaceae
Genus Alternaria
Species helianthi
Race/Pathover
ชื่อโรคภาษาไทย (Disease name, Thai) โรคใบและลำต้นจุด, โรคใบจุด, โรคลำต้นไหม้
ชื่อโรคภาษาอังกฤษ (Disease name) leaf and stem spot, leaf spot, stem blight
เชื้อเข้าทำลาย บนใบอ่อนพบบริเวณสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถ้าสภาพอากาศชืนมีฝนตกชุก จะทำให้แผลขยายใหญ่ไหม้ลุกลามติดกัน ทำให้ใบแห้งตาย แผลที่ลำต้นมักจะบุ๋มลึกลงไป และทำให้ลำต้นเกิดรอบแตกแยกตรงกลางแผลเหล่านั้น ก้านใบหักพับเสียหาย ระยะออกดอก ทำให้กลีบดอกเกิดจุดแผลกลมเล็ก ฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลเข้ม ซึ่งต่อมาแผลจะขยายยาวเป็นรูปกระสวย ทำให้กลีบดอกเน่าและร่วงก่อนกำหนด ฐานรองดอก จะเกิดเป็นจุดแผลมีลักษณะทั้งค่อนข้างกลมและรี แผลเหล่านี้จะบุ๋มลึกลงไปในเซลล์พืช ทำให้เกิดอาการเน่าสีน้ำตาลเข้มไปทั้งจานดอก รวมทั้งเมล็ดจะเกิดเป็นโรคเมล็ดเน่า หรือจานดอกเน่า ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย: ใบ, ลำต้น, ก้านใบ, ดอก, ฐานรองดอก
พืชอาศัยหลัก (Main host)
ทานตะวัน : common sunflower (Helianthus annuus)
พืชอาศัยอื่นๆ (Other host)
None Data
สปอร์ แพร่ไปกับลม ทางดินและติดไปกับเมล็ด และเมื่อนำไปเพาะกล้า เชื้อสาเหตุของโรคนี้ก็จะเจริญไปสู่พืชต้นใหม่ได้ดี
เชื้อสามารถเจริญได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิค่อนข้างกว้าง คือ ระหว่าง 4-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 70-90% จึงเป็นเหตุให้โรคนี้ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยเชื้อจะเข้าทำลายพืชผ่านทางปากใบเป็นสำคัญ
-เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกควรมาจากต้นแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นโรค
-คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชก่อนปลูก เช่น แคบแทน ไอโปรไดออน อิมาซาลิล
-หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยกับพืช และอย่าปลูกให้แน่นเกินไป
-หากสภาพเหมาะสมต่อการเกิดโรค ให้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ทุก 7-20 วัน ได้แก่ ไอโปรไดโอน อิมาซาลิล และแมนโคเซบ
[1] CABI. 2007. Crop Protection Compendium. CAB International, Wallingford UK. URL http://www.cabicompendium.org/cpc/home.asp
[2] คลีนิคพืช. มปป. โรคใบและลำต้นไหม้อัลเทอร์นาเรีย (Alternaria feaf and stem blight). สารสนเทศในงานป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร. URL http://www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant/sunflower/alter.htm
[3] พัฒนา สนธิรัตน, ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน, ธนวัฒน์ กำแหงฤทธิรงค์, วิรัช ชูบำรุง และ อุบล คือประโคน. 2537. ดรรชนีโรคพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานวิทยาไมโค กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 285 หน้า.
Presence
☐ Present: in all parts of the areaAbsence
☐ Absent: no pest recordsTransience
☐ Transient: non-actionable